นโยบายการกำกับดูแลธุรกิจกองทุน

การกำกับดูแลธุรกิจกองทุน

บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด (บริษัทฯ) ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลธุรกิจกองทุนเพื่อให้การดำเนินธุรกิจ และการปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเช่น พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎข้อบังคับของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน รวมถึงนโยบายในการปฏิบัติงานด้านธุรกิจจัดการลงทุนภายในบริษัท และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจจัดการลงทุน อันจะนำมาซึ่งการบริหารธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานต่อไป

รายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์

รายงานผลการติดตามดูแลการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (IOE)

นโยบายในการปฏิบัติงานด้านธุรกิจจัดการลงทุน

พนักงานทุกคนของ บลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด (บริษัทฯ) จะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานด้านธุรกิจจัดการลงทุนด้วยความเคร่งครัดดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. พนักงานจะปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับ ระเบียบภายในของบริษัท รวมถึงจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ

  2. ในการดำเนินการจัดการลงทุนของกองทุนทุกประเภทที่เป็นธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯจะต้องจัดการให้เป็นไปตาม โครงการจัดการที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. และสัญญาที่ตกลงกับลูกค้า

  3. พนักงานจะดูแลมิให้การลงทุนของบริษัทฯ พนักงาน และกองทุนประเภทต่างๆ ภายใต้การบริหารของบริษัทฯ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกัน

  4. พนักงานจะดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและยุติธรรม เพื่อให้การจัดการกองทุนภายใต้การบริหาร เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของลูกค้า โดยผลประโยชน์ของลูกค้าต้องมาก่อนผลประโยชน์ของบริษัทฯ หรือผลประโยชน์ส่วนตัวกรรมการ หรือพนักงานของบริษัทฯ

  5. พนักงานต้องเปิดเผยข้อมูลความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานให้ถูกต้อง ครบถ้วนและชัดเจน

  6. พนักงานจะรักษาความลับของลูกค้า และรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย

  7. พนักงานต้องปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (Association of Investment Management Companies) กำหนด

จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจจัดการลงทุน

จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจของ บลจ.ไทยพาณิชย์ จำกัด (บริษัทฯ) คือ จรรยาบรรณหลักในการประกอบธุรกิจจัดการการลงทุน ทั้งกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกิจการอื่นใดที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการก.ล.ต. ตลอดจนข้อพึงปฏิบัติต่างๆ ของบริษัทฯ เช่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสมาคม หรือชมรมที่บริษัทฯ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยมีหลักสำคัญที่พึงยึดถือปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. ประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และมีคุณธรรมในการดำเนินการทางธุรกิจกับลูกค้า หรือประชาชนทั่วไป รวมถึงการติดต่อทางธุรกิจกับสถาบันการเงินอื่น

  2. จัดการลงทุนให้แก่ลูกค้าโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของการลงทุนกับวัตถุประสงค์ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ สภาพแวดล้อม ตลอดจนข้อจำกัดต่างๆ ของลูกค้า

  3. ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎเกณฑ์อื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง รวมถึงการไม่กระทำการ หรือช่วยเหลือ หรือสนับสนุนการกระทำอันเป็นความผิดตามกฎหมายและ กฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎหมายอื่นใด ตลอดจนศีลธรรมอันดีของประชาชน

  4. พึงยึดถือและปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพการจัดการลงทุนของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน หรือชมรมต่างๆ ที่บริษัทฯ ได้เข้าเป็นสมาชิก

  5. ไม่กระทำการอันให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนบุคคล หรือการเอาเปรียบ ลูกค้าหรือบริษัทฯ

  6. ปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยความเป็นธรรม เท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติ

  7. ต้องรักษาไว้ซึ่งความลับ และผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ

  8. ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ลูกค้าทราบ ในกรณีสมาชิกมีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม

  9. ต้องนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกองทุนอย่างชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน

  10. บริษัทฯ จะรายงานต่อสมาคม หน่วยราชการ หรือหน่วยงานที่กำกับควบคุมดูแลธุรกิจประเภทนั้น เมื่อพบว่ามีการกระทำผิดตามกฎหมายเกิดขึ้น หรือเป็นการกระทำอันอาจะเป็นภัยต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น หรือเป็นการกระทำอันอาจะเป็นภัยต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ

นโยบายการคัดเลือกนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์

การพิจารณาคัดเลือกนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ (Broker Selection Policy)
นโยบาย

กระบวนการพิจารณาคัดเลือกนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และ คู่ค้าหลักทรัพย์ตราสารหนี้นั้นต้องมีมาตรฐาน โปร่งใส และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสำคัญ

หลักปฏิบัติ
  1. Full Service Broker แบ่งเป็น First Tier Broker และ Second Tier Broker

    หลักปฏิบัตินี้ให้ใช้ปฏิบัติกับนายหน้าค้าหลักทรัพย์ตราสารทุนเท่านั้น โดยจะแบ่งโบรกเกอร์เป็น 5 ประเภท ดังนี้

    1. Broker for Active Investment (Full Service Broker)แบ่งเป็น First Tier Broker และ Second Tier Broker

      1. First Tier Broker ได้แก่ Broker ที่สามารถให้บริการคำแนะนำกลยุทธ์การลงทุนและการลงทุนในรายหุ้นได้ถูกต้องเป็นประจำสม่ำเสมอ บริษัทจะจัดสรรคำสั่งซื้อขายให้แก่ First Tier Broker ในสัดส่วนสูงอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการให้บริการแก่กองทุนอย่างเต็มที่ โดย Broker รายสุดท้ายของ First Tier
        จะต้องได้รับการจัดสรรมากกว่า Broker รายแรกของ Second Tier

      2. Second Tier Broker ได้แก่ Broker ที่สามารถให้คำแนะนำกลยุทธ์การลงทุนและการลงทุนในรายหุ้น
        ได้ถูกต้องเป็นครั้งคราว หรือมีข้อมูล Market Information สำหรับการประกอบการตัดสินใจลงทุนได้

      เกณฑ์การคัดเลือก Full Service Broker

      กลุ่มจัดการลงทุนพิจารณาการจัดสรรคำสั่งซื้อขายเป็นรายไตรมาส ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการลงทุน และมีการรายงานผลการส่งคำสั่งเมื่อสิ้นไตรมาส โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

      1. คุณภาพของบทวิเคราะห์ (Quality of research and recommendation)พิจารณาจาก

        • ความน่าเชื่อถือ การนำเสนอความคิดเห็นที่โดดเด่น รวดเร็ว และมีประโยชน์

        • การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงมหภาคทั้งในและต่างประเทศ

        • การวิเคราะห์ข้อมูลรายหลักทรัพย์

        • การกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่ถูกต้องกับสถานการณ์

        • การจัดสรรสินทรัพย์ในการลงทุน

      2. คุณภาพของการให้บริการ (Quality of Service)พิจารณาจาก

        • คุณภาพ ประสิทธิภาพ ความถี ความรวดเร็ว และความสม่ำเสมอ ในการให้บริการ รวมถึงข้อมูล
          และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่การตลาด

        • การนำเสนอที่ครบถ้วนและถูกต้อง

        • ข้อมูลการลงทุนในตลาด รวมถึงแนวทางการลงทุน

        • การให้ความสำคัญในการนำเสนอ

      3. จำนวนและคุณภาพของงานสัมมนา, จัดประชุม และคุณภาพในการนัดพบผู้บริหารบริษัท (Seminar, Conference and Company visit Arrangement) พิจารณาจาก

        • คุณภาพและปริมาณในการนัดพบผู้บริหาร เยี่ยมชมกิจการ และ การสัมมนา

      4. สิทธิประโยชน์จากการจัดสรรหุ้น IPO, PO และ PP (Quality and amount of IPO, PO, PP ) พิจารณาจาก

        • คุณภาพ และ ปริมาณ หุ้น IPO, PO และ PP ที่ได้รับการจัดสรร

      5. คุณภาพในการทำคำสั่งซื้อ/ขาย (Quality of Dealing and Execution) พิจารณาจาก

        • ความเร็วในการส่งคำสั่ง ประสิทธิภาพในการทำคำสั่ง CD สัดส่วนหุ้นที่ทำการซื้อ / ขายได้ตามคำสั่ง ความถูกต้องในการทำรายการ ประสิทธิภาพในการยืนยันการซื้อ /ขาย และความเร็วในการจัดทำเอกสารยืนยัน

      6. ค่าธรรมเนียมการซื้อ/ขาย (Commission Fees)พิจารณาจาก

        • ค่าธรรมเนียมที่เสนอมา

    2. Execution Broker

      เป็นการซื้อขายที่มิได้ใช้ข้อมูลรายหุ้นในการตัดสินใจลงทุน แต่เป็นการตัดสินใจจากกระแสเงินสดที่เข้าออกของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละขณะ หรือการตัดสินใจที่ถูกกำหนด program ไว้ล่วงหน้า

      เกณฑ์การคัดเลือก
      1. ค่าธรรมเนียมในการซื้อ/ขาย (Commission Fees)

      2. คุณภาพในการทำคำสั่งซื้อ/ขาย (Quality of Dealing and Execution)

      3. ความพร้อมและความสามารถของระบบงาน (Dealing and Confirmation Process)

    3. DMA Broker

      เป็นการซื้อขายที่มิได้ใช้ข้อมูลรายหุ้นในการตัดสินใจลงทุน แต่เป็นการตัดสินใจจากกระแสเงินสดที่เข้าออกของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละขณะ และจะส่งคำสั่งซื้อขายทาง Electronic

      เกณฑ์การคัดเลือก
      1. ค่าธรรมเนียมในการซื้อ/ขาย (Commission Fees)

      2. ความพร้อมและความสามารถของระบบงาน (Dealing and Confirmation Process)

    4. TFEX Broker

      เกณฑ์การคัดเลือก
      1. คุณภาพในการทำคำสั่งซื้อ/ขายหลักทรัพย์ (Best Execution)

      2. ค่าธรรมเนียมในการซื้อ/ขาย (Commission Fees)

      3. ความพร้อมและความสามารถของระบบงาน (Dealing and Confirmation Process)

      ทาง บลจ.ไทยพาณิชย์ สงวนสิทธิสำหรับการจัดสรรให้กับ Broker พิเศษ (Ad hoc Broker) โดยมีวัตถุประสงค์ไว้เพื่อ

      1. ทดลองบริการ

      2. Matching Illiquid Stocks, Big Lot

      3. สิทธิในการจองหุ้น

      4. สิทธิในการเข้าร่วมงานสัมมนาระดับชาติ และ

      5. การลงทุนในกองทุนรวมหน่วยลงทุนต่างประเทศ (Feeder fund) และบริการอื่นๆที่ไม่สามารถได้รับบริการจากกลุ่ม Broker ข้างต้น

  2. การพิจารณาคัดเลือกนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Broker Selection Policy for Foreign Exchange Traded Fund: ETF)

         หลักปฏิบัตินี้ให้ใช้กับนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Exchange Traded Fund: ETF) เท่านั้น
         สำหรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบัน เป็นการซื้อขายที่มิได้ใช้ข้อมูลรายหุ้นในการตัดสินใจลงทุน แต่เป็นการตัดสินใจจากปัจจัยระดับมหภาคหรือกระแสเงินสดที่เข้าออกของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละขณะ ดังนั้น หลักเกณฑ์ที่ประกอบการพิจารณาจึงประกอบด้วย

    1. ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์

    2. ความสามารถในการชำระราคาและการรับประกันยอดสั่งซื้อ / ขาย

    3. ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์

    4. การให้ข้อมูลสนับสนุนด้านสภาวะการลงทุนและการสนับสนุนทางข้อมูลอื่น ๆ

  1. For Foreign Equities Investment – ส่งให้กับ Broker ที่มีบริการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
    ต่างประเทศที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

    เกณฑ์การคัดเลือก
    1. ค่าธรรมเนียมในการซื้อ/ขาย (Commission Fees)

    2. ความสามารถในการชำระราคาและการมีพอร์ตการลงทุนของบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รองรับ

    3. ปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์

    4. การให้ข้อมูลสนับสนุนด้านสภาวะการลงทุนและการสนับสนุนทางข้อมูลอื่น

นโยบายการใช้สิทธิออกเสียง

นโยบาย

การใช้สิทธิออกเสียงของผู้จัดการกองทุนจะต้องกระทำโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ มีความชัดเจนและโปร่งใสและเป็นไปตามหลักปฏิบัติของบริษัท รวมทั้งกฎเกณฑ์ ประกาศที่เกี่ยวข้องของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต

หลักปฏิบัติ
  1. แนวทางการใช้สิทธิออกเสียงของผู้จัดการกองทุนในเรื่องต่างๆ ดังนี้

    1. การรับรองงบการเงิน ผลการดำเนินงาน การจ่ายปันผล

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ผู้ตรวจสอบบัญชี 1) ไม่แสดงความเห็น (Disclaimer Opinion) 2) แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง(Adverse Opinion) 3) แสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขในลักษณะที่เป็นไปในทางลบอย่างมีสาระสำคัญ

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่มีการจ่ายเงินปันผลไม่สอดคล้องกับนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัทโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

    2. การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินสำคัญ การซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ การควบหรือรวมกิจการ การจ้างบริหาร และการครอบงำกิจการ

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่เปิดเผยถึงรายละเอียดของการได้มาหรือการจำหน่ายทรัพย์สิน การซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ การควบหรือรวมกิจการ การจ้างบริหาร และการครอบงำกิจการ เช่น วัตถุประสงค์, ที่มา, ราคา เป็นต้น

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ต้องใช้ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินแต่ไม่มีการเปิดเผยความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงิน หรือที่ปรึกษาทางการเงินไม่เห็นด้วย

    3. การแต่งตั้งและถอดถอนคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่มีการเปิดเผยถึงข้อมูลที่จำเป็นในการพิจารณา เช่น การดำรงตำแหน่งในกรรมการบริษัทอื่น เป็นต้น

      • ในกรณีที่กรรมการเข้าประชุมน้อยกว่า 75% ของเวลาการประชุม แต่บริษัทมิได้แจ้งสาเหตุนั้นมาพร้อมกับเอกสารเชิญประชุม บลจ.อาจทำการติดต่อกลับไปขอทราบสาเหตุเพื่อประกอบการพิจารณาออกเสียงได้ และจะพิจารณาออกเสียง “เห็นด้วย” ในกรณีที่เห็นว่าเป็นเหตุผลอันควร หรือพิจารณาออกเสียง “ไม่เห็นด้วย” ในกรณีที่เห็นว่าไม่มีเหตุผลอันควร

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่กรรมการที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเป็นกรรมการของบริษัท ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทอื่น (เฉพาะบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ในขณะเดียวกันเกิน 5 บริษัท

    4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน เช่นการเพิ่มทุนและการลดทุน

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่เป็นการเพิ่มทุนโดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิม (Right Issue) เกิน 1 : 2 (หุ้นเดิม : หุ้นใหม่) โดยไม่มีเหตุผลอันควร

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่เป็นการเพิ่มทุนโดยไม่ให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมและส่งผลให้เกิด Control dilution เกิน 20% ยกเว้นเป็นการ Bail out บริษัทโดยองค์กรของรัฐ หรือควบรวมกิจการที่มีลักษระคล้ายการทำ Share Swap

      • ไม่เห็นชอบการในกรณีที่เป็นการเพิ่มทุนที่ทำให้สิทธิในการออกเสียงลดลง เช่น ต้องไม่มีการแบ่งชั้นของผู้ ถือหุ้น เป็นต้น หรือกระทำการใดๆที่ทำให้ไม่เกิดความไม่เท่าเทียมระหว่างผู้ถือหุ้น

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่เป็นการซื้อหุ้นคืนจนทำให้ Free Float ต่ำกว่า 20%

      • ไม่เห็นชอบถ้าการเพิ่มทุน ไม่ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการใช้เงินชัดเจน ทั้งนี้วิธีการจัดสรรต้องมีความสมเหตุสมผล มีราคาเหมาะสม และในกรณีที่เป็น Warrant ต้องเปิดเผยลักษณะหลักทรัพย์ ผลกระทบของการใช้สิทธิ ระยะเวลาการใช้สิทธิ และไม่กำหนดการใช้สิทธิ call option ให้ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการ

      • ในกรณีที่มีการจัดสรรหุ้นที่เหลือควรให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการจัดสรร

    5. การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่กรรมการของบริษัท การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงานบริษัท

      • ไม่เห็นชอบค่าตอบแทนพิเศษในกรณีที่ไม่เปิดเผยจำนวนเงิน

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่แผนการให้ ESOP โดยไม่เปิดเผยเรื่องการ dilution

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่แผนการให้ ESOP ทั้งแผนส่งผลให้เกิด Dilution เกิน 10%

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่เป็นแผนในลักษณะที่จะให้ ESOP ทุกปี โดยแต่ละปีให้ ESOP เกิน 2%ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท (พิจารณาเป็นกรณีไป)

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ Exercise Price ของ ESOP ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยของตลาด (ในช่วงเวลาที่มีการขออนุมัติแผน) เกิน 20%

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ มีเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลง Exercise Price หรือขยายระยะเวลาครบกำหนดของ ESOP ภายหลังจากที่ได้มีการออก Option ยกเว้นในกรณีเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงตามปกติเช่น การเพิ่มทุน ฯลฯ

    6. การจำกัดความรับผิดของกรรมการ

      • ไม่เห็นชอบกรณีที่บริษัทเสนอให้ลดหรือจำกัดความรับผิดของกรรมการ หากมีความเสียหายจากการกระทำผิดพลาดในหน้าที่ตนรับผิดชอบอยู่

      • สนับสนุนกรณีที่เพิ่มเงินชดเชยค่าเสียหายให้กรรมการถ้าพิสูจน์ได้ว่ากรรมการปฏิบัติหน้าที่ดีที่สุด

      • ไม่เห็นชอบกับการ ทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นหรือการทำรายการที่เกี่ยวข้องกัน

      • ไม่เห็นชอบกับการทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น หรือการทำรายการที่เกี่ยวข้องกัน โดยไม่มีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงิน

    7. การเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัทหรือวัตถุประสงค์ของบริษัท

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่มีการเปิดเผยวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัทหรือวัตถุประสงค์ของบริษัท

    8. การแก้ไขข้อบังคับของบริษัท

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการแก้ไขข้อบังคับ

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่มีการเปิดเผยข้อความในข้อบังคับก่อนที่จะมีการแก้ไขและข้อความที่ประสงค์จะแก้ไข

    9. การแต่งตั้ง / ถอดถอนผู้ตรวจสอบบัญชี และการเห็นชอบค่าสอบบัญชี

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่เปิดเผยค่าสอบบัญชี และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น Non-Audit Fee เป็นต้น

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ผู้สอบบัญชีมีความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องกับบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ

      • ไม่เห็นชอบในกรณีที่ไม่ใช่ผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากตลาดหลักทรัพย์

      • ไม่ควรใช้ผู้สอบบัญชีเดิมเกิน 7 ปี และควรเว้นอย่างน้อย 5 ปี

      • ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีต้องแจ้งสาเหตุ

           ในการลงมติตามเกณฑ์ข้างต้น ผู้จัดการกองทุนอาจพิจารณาแจ้งการตัดสินใจลงมติดังกล่าวแก่ผู้บริหารบริษัท หรือหน่วยงาน Investor Relations ของบริษัทก่อน เพื่อให้โอกาสแก่ผู้บริหารบริษัทเหล่านั้นอธิบายเหตุผลและความจำเป็นในการขอมติดังกล่าว เมื่อพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นแล้ว ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการการลงทุน ซึ่งหากเป็นประโยชน์ต่อกองทุนหรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อกองทุน คณะกรรมการการลงทุนอาจอนุมัติให้ออกเสียงแตกต่างจากแนวทางข้างต้นได้ ทั้งนี้ ให้รวบรวมรายการที่ออกเสียงแตกต่างนี้รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นรายปี

           ในกรณีการลงทุนในต่างประเทศ ผู้จัดการกองทุนสามารถออกเสียงตามคำแนะของที่ปรึกษา หากผู้จัดการกองทุนมีความประสงค์ที่จะไม่ใช้สิทธิออกเสียงตามคำแนะนำของที่ปรึกษา โดยผู้จัดการกองทุนจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการลงทุนก่อน

           กรณีอื่นๆ ในกรณีที่เป็นมติที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น  ผู้จัดการกองทุนจะต้องทำการพิจารณาผลดีผลเสียของเรื่องดังกล่าว  โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ 

  2. การใช้สิทธิออกเสียงจะกระทำโดย
              ผู้จัดการกองทุนอาจเป็นผู้ไปใช้สิทธิออกเสียงด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่สายการลงทุนดำเนินการตามความประสงค์ของผู้จัดการกองทุนก็ได้ ทั้งนี้ อาจมีการมอบฉันทะให้เจ้าหน้าที่สายการลงทุน หรือผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุน หรือผู้บริหารของบริษัท หรือตัวแทนสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย หรือกรรมการอิสระของบริษัท หรือบุคคลที่ทำหน้าที่ดังกล่าว หรือตัวแทนอื่น (เช่นบริษัทที่รับดำเนินการใช้สทธิออกเสียง ทั้งในประเทศ หรือต่างประเทศ เป็นต้น) ที่ผู้จัดการกองทุนพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสม เป็นผู้ไปดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงแทน โดยเป็นไปตามมติที่กำหนดไว้ตามความประสงค์ของผู้จัดการกองทุนก็ได้

  3. การสอบทานการใช้สิทธิ
           ภายหลังจากที่ผู้จัดการกองทุนได้ทำการใช้สิทธิออกเสียง สายกำกับและควบคุมจะต้องทำการติดตามผลการลงมติที่ผู้จัดการกองทุนได้ออกเสียงไป

  4. การเก็บรักษาเอกสารการใช้สิทธิและผลการลงมติ
           ฝ่ายปฏิบัติการลงทุนต้องสำเนาเอกสารการใช้สิทธิและผลการลงมติที่ผู้จัดการกองทุนได้ใช้สิทธิออกเสียงเพื่อเก็บรักษาทุกครั้ง โดยเอกสารการดังกล่าวต้องถูกจัดเก็บเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี จึงจะสามารถนำไปทำลาย

  5. แนวทางการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์
           ในกรณีที่ประเด็นที่ต้องใช้สิทธิออกเสียงมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทจัดการ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง (บุคคลที่เกี่ยวข้องคือบุคคลตามคำจำกัดความของประกาศที่ อน. 1/2548 หรือ ประกาศที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมในอนาคต) ผู้จัดการกองทุนจะต้องใช้สิทธิออกเสียงโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของกองทุนเป็นหลัก และต้องใช้สิทธิออกเสียงตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

  6. การเปิดเผยข้อมูล
           บริษัทจัดการจะเปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงโดยจะทำการติดประกาศ ณ ที่ทำการของ บริษัทจัดการ หรือประกาศใน Website ของบริษัทจัดการ

Click ที่นี่ เพื่อดูรายงาน

หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่น (Soft dollar)

บริษัทจัดการไม่สามารถรับผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อประโยชน์ของบริษัทจัดการเองได้ตามข้อห้ามของกฎหมาย และเป็นเรื่องที่ไม่พึงกระทำโดยวิชาชีพ เว้นแต่เป็นการรับผลประโยชน์เพื่อกองทุน หรือบริษัทจัดการ/พนักงานตามเทศกาลที่เป็นประเพณีนิยม ตามนโยบายของบริษัทจัดการ ดังต่อไปนี้.

  1. บริษัทจัดการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่น โดยมีมูลค่าสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท

  2. พนักงานรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

    • ตามเทศกาลที่เป็นประเพณีนิยม
    • รับทรัพย์สินที่มีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท แต่หากมีมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาทและไม่เกิน 20,000 บาท ต้องขออนุมัติกรรมการผู้อำนวยการเพื่อวินิจฉัยความจำเป็นและเหมาะสม
  3. บริษัทจัดการอาจรับผลประโยชน์เพื่อกองทุน ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

    1. ผลประโยชน์ตอบแทนที่รับไว้นั้น ต้องเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าในทางเศรษฐกิจและเป็นประโยชน์โดยตรงต่อกองทุน และ/หรือเป็นของที่ระลึก และ/หรือเป็นของกำนัล ซึ่งมอบให้เป็นการทั่วไป ตามประเพณีนิยม และ

    2. ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทจัดการใช้บริการของบุคคลนั้น บ่อยครั้งเกินความจำเป็นเพื่อให้กองทุนได้รับประโยชน์จากบุคคลดังกล่าว (Churning)
      สำหรับผลประโยชน์ตอบแทนที่กองทุนสามารถรับได้ มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

      • ข้อมูล รายงานวิเคราะห์ด้านการลงทุนที่จัดทำในรูปแบบของสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
      • การสัมมนาต่างๆ การจัดประชุมทางโทรศัพท์หรือสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
      • การสัมมนาหรือการเข้าเยี่ยมชมธุรกิจในต่างประเทศหรือต่างจังหวัด ซึ่งบริษัทออกค่าใช้จ่ายเดินทางและที่พักเอง
      • การจัดการให้เข้าพบผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน และการเข้าเยี่ยมชมธุรกิจ