เกี่ยวกับ กองทุนส่วนบุคคล

ภาพรวมการบริการกองทุนส่วนบุคคล

กองทุนส่วนบุคคล การบริหารจัดการเงินลงทุนของลูกค้า ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และสถาบัน ที่มอบหมายให้บริษัทจัดการเป็นผู้บริหารจัดการลงทุน โดยลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการลงทุน วัตถุประสงค์การลงทุน ข้อจำกัดการลงทุนของลูกค้า โดยอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ เพื่อตอบสนองความต้องการและแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าตามที่ได้คาดหวังไว้ โดยบริษัทจัดการจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสรรเงินลงทุนในหลักทรัพย์ การคัดเลือกหลักทรัพย์ และการจับจังหวะการลงทุนของตลาดตามความเหมาะสม ภายใต้กรอบและข้อจำกัดการลงทุนที่ได้ตกลงสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไว้กับลูกค้า รูปแบบการลงทุนจะมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละท่านได้เป็นอย่างดี

กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือเงินกองทุนจะเป็นของลูกค้า อยู่ภายใต้ชื่อของลูกค้า โดยมีการระบุชื่อของบริษัทจัดการควบคู่ไปด้วยเพื่อเป็นการบอกถึงสิทธิ์ในการบริหารจัดการทรัพย์สินของลูกค้าทั้งนี้ ภาษีที่เกิดจากการลงทุนจะเป็นไปตามฐานภาษีตามประเภทของลูกค้า

ด้านบริษัทจัดการลงทุนเมื่อรับบริหารเงินลงทุนแล้ว ต้องดำเนินการแต่งตั้ง “ผู้รับฝากทรัพย์สิน” (Custodian) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. มาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลรักษาทรัพย์สิน ตลอดจนติดตามสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลนั้น

ประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุนได้

ผู้ลงทุนสามารถพิจารณาลงทุนใน เงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชน ตราสารทุน หน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทต่างๆ หน่วยลงทุนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนตราสารอนุพันธ์และสินทรัพย์ทางเลือกต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น

  1. ค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุนส่วนบุคคล (Management Fee)

  2. ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian Fee)

  3. ค่าธรรมเนียมอื่น เช่น ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าผู้ตรวจสอบบัญชี (ถ้ามี) เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนรวม