คุยเฟื่องเรื่องกองทุน : การลงทุนในสภาวะตลาดที่ผันผวน

4 กุมภาพันธ์ 2559

       ตลอดช่วงเวลาสามปีที่ผ่านมา ตัวผมก็ได้มีการถกกับนักลงทุนต่างชาติอยู่ตลอดเวลาถึงแนวโน้มการลงทุนของสินทรัพย์ต่างๆ เมื่อมีการสนทนากันเรื่องหุ้นภูมิภาคตลาดเกิดใหม่นั้น นักลงทุนต่างชาติก็มักจะแสดงความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจกันอย่างถ้วนหน้า ประเด็นที่สร้างความกังวลต่อชาวต่างชาตินั้นสืบเนื่องมาจาก 3 ปัจจัยพื้นฐานหลักที่จำเป็นต่อแนวโน้มที่ดีของสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ

       ปัจจัยแรกนั้นหนีไม่พ้นไปจากความกังวลเรื่องที่ทาง Fed ได้เริ่มแสดงความประสงค์จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่ช่วงต้นปี 2556 ดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำมานานนับตั้งแต่เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ช่วงปลายปี 2551 ซึ่งดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 0 นั้นได้นำไปสู่เงินทุนที่ไหลไปสู่หุ้นตลาดเกิดใหม่อย่างต่อเนื่องหลายปี ฉะนั้นการที่ทาง Fed นั้นอยากจะขึ้นดอกเบี้ยจึงก่อให้เกิดความกลัวในหมู่ชาวต่างชาติและจึงได้ถอนการลงทุนจากภูมิภาคนี้กันอย่างต่อเนื่องจนถึงบัดนี้

       สวัสดีปีใหม่ 2559 และซินเจี่ยยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ นะครับ หลายท่านอาจจะยังอยู่ช่วงเวลาแห่งความสนุกสนานรื่นเริง แต่สำหรับตลาดการลงทุนตั้งแต่ต้นปีมานั้นกลับกระชากอารมณ์เหล่านักลงทุนเสียเหลือเกิน คำถามสำคัญที่ทุกท่านคงอยากทราบกันว่าเพิ่งจะต้นปีก็ดูจะมีความตื่นเต้นท้าทายให้พบเจอมากมายขนาดนี้ แล้วเราจะเตรียมพร้อมรับมือกับการลงทุนในปีนี้กันอย่างไรให้เหมาะสม

       ประเด็นหลักที่เห็นได้อย่างชัดเจนในปี 2559 ที่จะทำให้ตลาดผันผวนมีหลายปัจจัยด้วยกัน คือการที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed ได้ส่งสัญญาณจะมีการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งทำให้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น

       ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยปกติความเสี่ยงทางการเมืองนั้นจะสร้างผลกระทบในด้านความผันผวนของตลาด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด และอาจมีผลกดดันให้มูลค่าพื้นฐานของตลาดโดยรวมลดต่ำลงกว่าที่เป็นมาเพื่อสะท้อนเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนเหล่านั้น ดังนั้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้การลงทุนในหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลสูงและสม่ำเสมอถือเป็นหนึ่งในทางเลือกการลงทุนที่ดีอีกทางหนึ่งครับ

       “สำหรับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่องนั้น ทำให้เกิดแรงกดดันต่อกลุ่มตลาดประเทศเกิดใหม่ (Emerging markets) ทั้งจากมูลค่าพื้นฐาน Price to Earnings และการลดลงของค่าเงินสกุลท้องถิ่นเอง ดังนั้นการคัดเลือกลงทุนในหุ้นรายตัวที่มีความสามารถที่จะเติบโตได้เร็วกว่าตลาด จึงเป็นกลยุทธ์ “เรือเล็กพายทวนน้ำ” ที่ดูจะเหมาะสม โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็ก ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในภาวะปัจจุบันยามที่หุ้นใหญ่ในตลาดกำลังปรับตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงด้วยเช่นกัน”

       นอกจากนี้เพื่อหาโอกาสช่วงชิงความได้เปรียบจากเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น การลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่น ตราสารหนี้ระยะสั้น ก็ยังเป็นอีกทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจด้วยนะครับ

       ด้วยสภาพตลาดที่ผันผวน และอัตราผลตอบแทนที่ต่ำ (low yield environment) กลยุทธ์การลงทุนที่พยายามสร้างผลตอบแทน โดยมีความสัมพันธ์กับตลาดต่ำ ที่เรียกกันว่า Absolute return หรือการลงทุนแบบเน้นรายได้ที่สม่ำเสมอระหว่างทาง (Income focus) หรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกต่าง ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน เหล่านี้เป็นทางเลือกการลงทุนที่เหมาะสม

       โดย บลจ.ไทยพาณิชย์ ก็มีโอกาสได้นำเสนอกองทุนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดที่ผันผวนเช่นนี้ ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลบอลอินคัมพลัส (SCB Global Income Plus Fund) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ สมาร์ทเทรด 555 ฟันด์ เอ (SCB Smart Trade Fund A) หรือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม ดิจิทัล (Digital Telecommunications Infrastructure Fund) เป็นต้น

       ในมุมมองของผม การลงทุนที่ดีที่สุด คือเน้นลงทุนเพื่อให้ทรัพย์สินของท่านเพิ่มมูลค่าด้วยปัจจัยด้านคุณภาพ มากกว่าการพึ่งพาสภาวะตลาดแต่เพียงอย่างเดียว แต่การลงทุนใดๆ ก็ตาม นักลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินในลงทุนด้วยนะครับ

โดย สมิทธ์ พนมยงค์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด