คำถามที่พบบ่อย

ท่านสามารถดูมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนได้จากเว็บไซด์ของบลจ. ไทยพาณิชย์ จำกัด (www.scbam.com)

  1. ช่วงเสนอขายครั้งแรก (IPO) จะเสนอขายที่ราคา PAR ซึ่งโดยปกติแล้ว ราคา PAR จะอยู่ที่ 10 บาท ต่อ 1 หน่วยลงทุน ( บวก ค่าธรรมเนียมซื้อ ถ้ามี) 
  2. สำหรับ กองทุนเปิดทั่วไปในช่วงเวลาซื้อขายปกติ ผู้ลงทุนจะทราบราคาซื้อขายหน่วยลงทุน ภายหลังจากวันที่ได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุน

กรณีที่ท่านต้องการเปลี่ยนแปลง ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสาร หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และอีเมล ท่านสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองผ่านบริการ SCBAM e-Service โดยเลือกลงทะเบียนเพื่อใช้บริการ

กรณีที่ท่านต้องการเปลี่ยนแปลง คำนำหน้า ชื่อ นามสกุล และบัญชีรับเงินค่าขายหน่วยลงทุน ท่านสามารถดำเนินการผ่านสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ บลจ.ไทยพาณิชย์ และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน

สำหรับกองทุนเปิด หรือกองทุนที่มีอายุโครงการ (Term Fund) เป็นกองทุนที่มีบริการ Fund Book ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกรับ Fund Book หรือหนังสือรับรองสิทธิ์ในหน่วยลงทุน (เอกสารแสดงสิทธิ์) ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ผู้ลงทุนที่เลือกรับ Fund Book จะไม่ได้รับการจัดส่งหนังสือรับรองสิทธิ์ในหน่วยลงทุน

สำหรับกองทุนที่ไม่มีบริการ Fund Book ท่านจะได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์ในหน่วยลงทุนเท่านั้น

หนังสือรับรองสิทธิ์ในหน่วยลงทุนจะถูกจัดส่งให้ท่านภายใน 7 วันทำการ นับจากวันทำรายการ สำหรับกองทุนที่มีอายุโครงการ (Term Fund) จะถูกจัดส่งภายใน 14 วันทำการ นับจากวันปิดเสนอขาย IPO

ผู้ลงทุนสามารถสั่งซื้อหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ ได้ที่

  • แอปพลิเคชัน SCBAM Fund Click
  • แอปพลิเคชัน SCB EASY App
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขา เวลา 08.30-15.30 น.
  • ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน

หมายเหตุ : เวลาการปิดรับรายการขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทกองทุน ซึ่งระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนฯ

บัญชีออมทรัพย์ หรือ เดินสะพัด ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยจะต้องเป็นชื่อบัญชีเดียวกับผู้ถือหน่วยลงทุน

บัญชีร่วม จะต้องมีหลักเกณฑ์การเปิดบัญชี ดังนี้

  1. ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 4 คน และ ผู้เปิดบัญชีจะต้องลงนามร่วมกัน ทุกคน
  2. ชื่อบัญชีเงินฝากที่รับโอนเงินค่าขายคืน " จะต้องเป็นชื่อบัญชีร่วมและเงื่อนไขตรงกับบัญชีกองทุน"
  3. เงื่อนไขการลงนาม
    การเปิดบัญชี
    (ต้องลงนามร่วมกันทุกคน)
    การลงทุนเพื่อทำธุรกรรม

    และ
    และ / หรือ
    หรือ

    ทุกคน
    ระบุเงื่อนไขในการลงนามเป็น (1 ใน 2) หรือ (2 ใน 3)เป็นต้น ได้
    ระบุเงื่อนไขในการลงนามเป็น (1 ใน 2) หรือ (2 ใน 3)เป็นต้น ได้

  4. บัญชีร่วมไม่สามารถลงทุนในกองทุนรวมบางประเภทได้ คือ กองทุนเพื่อการออม (Super Saving Fund: SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) ,กองทุนรวมที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ กองทุนรวมที่มีการจ่ายเงินปันผล

ท่านสามารถสมัครใช้บริการกองทุนได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ทุกสาขา หรือ ผู้สนับสนุนการขาย ที่สะดวก ตามวันและเวลาทำการ 

หรือสามารถเปิดบัญชีกองทุนตรงกับ บลจ.ไทยพาณิชย์ เพื่อลงทุนผ่าน SCBAM Fund Click Application ได้ที่ https://onlineaccount-fundclick.scbam.com

 

สำหรับการลงทุนในกองทุนเปิดประเภทตราสารทุน จะได้รับผลตอบแทน 2 ประเภทได้แก่

  1. ส่วนเกินราคาทุน (Capital Gain) และ
  2. เงินปันผล ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน

สำหรับการลงทุนในกองทุนเปิดประเภทตราสารหนี้ จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยรับ และมีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในกองทุนเปิดประเภทตราสารทุน

ท่านสามารถแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ที่ SCBAM e-Service ซึ่งท่านสามารถทำเพียงครั้งเดียว โดยทาง บลจ.ไทยพาณิชย์ จะนำส่งข้อมูลการลงทุนของท่านต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 15 มกราคม ของทุกปี

 

*กรณีที่ท่านมีการลงทุนผ่านบริษัทจัดการกองทุนอื่น ท่านจะต้องแจ้งความประสงค์ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามขั้นตอนที่บริษัทจัดการนั้นๆ กำหนด

ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับกองทุนส่วนบุคคล ได้แก่

  1. ค่าธรรมเนียมการจัดการ ขึ้นกับขนาดกองทุนและนโยบายการลงทุนของลูกค้า
  2. ค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สิน ขึ้นกับขนาดกองทุนและสถาบันที่ลูกค้าเลือกใช้บริการ

องค์ประกอบมีทั้งหมดดังนี้

  1. ผู้ลงทุน เป็นเจ้าของและมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินสุทธิของกองทุนของตนมีสิทธิในการรับทราบข้อมูลของบริษัทจัดการและ ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่บริษัทจัดการส่งให้
  2. บริษัทจัดการ เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังมีบุคลากรพร้อม มีระบบการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทำการลงทุนตามนโยบายที่กำหนดร่วมกับผู้ลงทุน จัดทำรายงาน ประจำเดือน และดูแลให้กระบวนการลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผู้รับฝากทรัพย์สิน เป็นสถาบันการเงินที่มีคุณสมบัติตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการ ทำหน้าที่รับฝากและเก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุนส่วนบุคคลตามรายบัญชี
  4. ผู้สอบบัญชีกองทุนส่วนบุคคล จะมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีที่ผู้ลงทุน ต้องการให้มีผู้สอบบัญชี
    ตรวจสอบสมุดบัญชี และเอกสารอื่น ๆ
  5. สมาคมบริษัทจัดการลงทุน มีบริษัทจัดการลงทุนทุกบริษัทเป็นสมาชิกโดยกำหนด มาตรฐาน การปฏิบัติงานที่ดี
  6. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นหน่วยงานของภาครัฐ ตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  7. เจ้าหน้าที่การตลาด ทำการดูแลกองทุนของลูกค้าเฉพาะราย สนับสนุนด้านข้อมูลให้แก่ ลูกค้า และประสานงานกับผู้จัดการกองทุน เพื่อให้คำปรึกษา และแนะนำ การลงทุนให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ในระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้
  8. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลงทุน ดูแลการจัดทำ และนำส่งรายงานการลงทุนทุกเดือน หรือตามความประสงค์ของลูกค้า ซึ่งรายงานดังกล่าวจะชี้แจงรายละเอียด ในเรื่องมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ผลการดำเนินงาน สถานการณ์ลงทุน การถือครองหลักทรัพย์และรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อให้ลูกค้าได้ทราบถึงความเป็นไปของกองทุนของตน
  9. ผู้จัดการกองทุน ดูแลบริหารกองทุน ติดตามสภาวะเศรษฐกิจ การลงทุน สรุปผลการ ดำเนินงานที่ผ่านมา และกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่จะดำเนินการต่อไป
  1. นโยบายการลงทุนประเภท ตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) มีนโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งเงินฝาก ตั๋วเงิน ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ และตราสารหนี้อื่นๆ ยกเว้นตราสารทุน เป็นนโยบายที่มีความเสี่ยงต่ำ
  2. นโยบายการลงทุนประเภท แบบผสม (Balance Fund) ระหว่าง ตราสารหนี้ ตราสารทุน และ/หรือตราสารอนุพันธ์ โดยจะกำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนตามระดับ การยอมรับความเสี่ยงของลูกค้า
  3. นโยบายการลงทุนประเภท ผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible Fund) ระหว่าง ตราสารหนี้ตราสารทุน และ/หรือตราสารอนุพันธ์ โดยจะไม่มีการกำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุนแต่อย่างใด โดยการจัดสรรเงินลงทุนระหว่างตลาดตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน
  4. นโยบายการลงทุนประเภทตราสารทุน (Equity Fund) มีนโยบายที่เน้นการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เป็นต้น
  1. ทักษะความรู้และความเข้าใจด้านการลงทุน
  2. ความพร้อมของเงินลงทุน
  3. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการลงทุน
  4. อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  5. ลักษณะและระยะเวลาของการลงทุน
  6. รายละเอียดและข้อจำกัดทางภาษี
  7. ระยะเวลาที่ต้องการผลตอบแทน