Worldwide Wealth by SCBAM : มารู้จักหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่คล้ายทุนไถ่ถอนคืนเมื่อเลิกกิจการ

10 เมษายน 2560

         ช่วงที่ผ่านมาเราได้เห็นผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่ๆ เข้ามาเสนอขายในตลาดการเงินกันอย่างมาก โดยหนึ่งในตราสารที่ผู้ออกตราสารและนักลงทุนต่างให้ความสนใจกันอย่างแพร่หลาย ก็คือหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนไถ่ถอนคืนเมื่อเลิกกิจการ หรือ perpetual bond มีนักลงทุนบางท่านที่พอรู้จักอยู่แล้วก็มักจะมาสอบถาม เพราะเห็นว่าให้ดอกเบี้ยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกันหุ้นกู้ทั่วไป  แต่ก็จะมีหลายท่านที่ยังสงสัยว่าหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนไถ่ถอนคืนเมื่อเลิกกิจการมันคืออะไร  ถ้าพูดง่ายง่ายๆ ภาษาชาวบ้านก็คือ เป็นหุ้นกู้หรือหนี้ที่ออกโดยบริษัท แต่หุ้นกู้นี้ไม่มีระยะเวลาครบกำหนด (คล้ายทุน) ถ้าบริษัทยังไม่เลิกกิจการหรือเรียกคืนก่อน ก็ไม่มีวันครบกำหนดและไม่ต้องชำระคืนเงินต้น ชำระแต่ดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ นั่นเอง พอฟังถึงตรงนี้ นักลงทุนหลายท่านอาจจะกังวัลว่าถ้าไม่มีกำหนดชำระคืนเงินต้น ก็แย่ซิ! หลายท่านคงสงสัยว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ตามความคิดส่วนใหญ่ของคนไทยมักจะคุ้นเคยกับราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นมาตลอด สาเหตุหลักคือ ประชากรที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวของเมือง ความต้องการที่อยู่อาศัย และเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีเศรษฐีผู้ใหญ่หลายท่านเคยสอนผมไว้ว่า ลงทุนในที่ดินนี่แหละดีที่สุดมีแต่ราคาขึ้น ดูตัวอย่างจากท่านที่ซื้อที่ดินผืนนั้นมาตั้งแต่ราคาไร่ละหมื่นจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ตารางวาละหลายแสน มีเงินก็ซื้อที่ดินเก็บไว้นะราคาจะมีแต่ขึ้น

         ในช่วงแรกของการประกาศใช้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ฉบับนี้ ทั้งฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่ง และสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ต่างก็วิตกกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นว่า การให้ข้อมูลของฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ หรือการออกบทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ใหม่นี้ได้ เพราะการขยายนิยามของคำว่าข้อมูลภายในและบุคคลที่เกี่ยวข้อง แต่ในความเป็นจริงแล้วสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีความตั้งใจดีที่จะทำให้นักลงทุนรายเล็กได้รับข้อมูลเท่ากับสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ ที่ในอดีตอาจได้เปรียบในการเข้าถึงข้อมูลก่อน 

         ไม่ต้องกังวลครับ ทางธนาคารตัวแทนจัดจำหน่ายก็พยายามที่จะหากลไกมารองรับความเสี่ยงอันนี้ โดยตราสารที่ออกนั้นมักจะมีดอกเบี้ยเป็นขั้นบันได ค่อยๆ ขยับสูงขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปทำให้ผู้ออกตราสารมีความต้องการไถ่ถอนคืน ซึ่งที่ผ่านมาเรามักจะเห็นการขยับขึ้นของดอกเบี้ยทุกๆ 5 ปี แต่ส่วนมากจากประวัติการเรียกคืนของผู้ออกตราสารประเภทเดียวกันนี้ในต่างประเทศ เรามักจะพบว่าผู้ออกตราสารแทบทุกรายหรือแทบจะเรียกได้ว่ากว่า 99% มักจะเรียกคืนเมื่อครบ 5 ปีแรก เพราะว่าบริษัทจะได้ประโยชน์จากกการนับตราสารชนิดนี้เป็นทุนทางบัญชีเพียง 5 ปีแรกเท่านั้น  หลังจากนั้นจะถูกนับเป็นหนี้ เมื่อไม่ได้ประโยชน์ทางบัญชีอีกต่อไปแต่ต้องเสียดอกเบี้ยสูงขึ้นจากขั้นบันไดที่กำหนดไว้จึงทำให้บริษัทส่วนใหญ่เรียกคืน  

         กล่าวถึงตรงนี้บางท่านที่คิดต่อก็ถามต่อว่า แล้วกรณีไหนที่เขาไม่เรียกคืนบ้างหล่ะ ก็เคยมีนะครับแต่เป็นเหตุการณ์สุดวิสัย เช่น ช่วงวิกฤตซับไพร์มในสหรัฐฯ มีธนาคารบางแห่งมีตราสารประเภทนี้ครบ 5 ปีช่วงนั้นพอดี  แม้บริษัทจะไม่สามารถนับตราสารเป็นทุนทางบัญชีได้อีกต่อไป แต่ในช่วงเวลานั้นตลาดตราสารหนี้ทั่วโลกกำลังปั่นป่วนอย่างหนัก บริษัทจึงยอมที่จะจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้นตามขั้นบันไดที่กำหนดไว้ ซึ่งยังถูกกว่าไปออกหุ้นกู้ใหม่ในช่วงเวลานั้น และอีกกรณีหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ก็คือ บริษัทผู้ออกตราสารโดนลดอันดับความน่าเชื่อถือจากเดิม การที่จะไปกู้ใหม่จะแพงกว่าการยอมชำระดอกเบี้ยที่เพิ่มตามขั้นบันไดตามกำหนดไว้เดิม

         สำหรับท่านนักลงทุนที่สนใจการลงทุนในตราสารประเภทหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนไถ่ถอนคืนเมื่อเลิกกิจการ หรือ perpetual bond นั้นควรพิจารณาถึงปัจจัยในการลงทุนดังนี้ คือ 1.ความมั่นคงของผู้ออกตราสาร เพราะตราสารนี้ไม่มีอายุครบกำหนดนอกจากเรียกคืน ฉะนั้นเราต้องเลือกบริษัทที่เรามั่นใจว่าจะอยู่กันไปอีก 30 ปีหรือ 50 ปี เป็นอย่างน้อย ถ้าจะให้ดีควรอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมาทดแทนได้ในอนาคตอันใกล้  2.เงื่อนไขของตราสารที่ออกนั้นควรจะทำให้บริษัทอยากเรียกคืนเมื่อเวลาผ่านไป เช่น มีดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันได  3.เนื่องจากตราสารประเภทนี้สามารถงดหรือเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยได้ เราจึงต้องดูเงื่อนไขว่าหากยังไม่จ่ายดอกเบี้ยก็ไม่สามารถปันผลได้ เป็นต้น

         แม้ว่าปัจจุบันจะมีตราสารใหม่ๆ ออกมานำเสนอให้นักลงทุนเป็นทางเลือก แต่เราก็ต้องพิจารณาถึงจุดเด่น จุดด้อย และความเสี่ยงของการลงทุนนั้น ไม่ใช่ดูเพียงผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว เงินของเราเราก็ต้องดูแลนะครับขนาดเดินเลือกเสื้อผ้ารองเท้ายังต้องลองแล้วลองอีก แล้วนี่เงินลงทุนมูลค่าสูงกว่ามาก ผมจึงอยากให้ท่านศึกษาจนเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ

 

โดย คุณสมิทธ์  พนมยงค์ ​
        ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร​
        บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด