ในภาวะตลาดการลงทุนที่ยังมีความผันผวน นักลงทุนยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เช่น มาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อการค้าโลก มาตรการตอบโต้และการเจรจาทางการค้าของประเทศต่างๆ ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ตัวเลขการจ้างงาน อัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการคาดการณ์นโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของตลาดทุนมีความผันผวนสูงขึ้น โดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นที่โดนแรงเทขายค่อนข้างรุนแรงและรวดเร็วก่อนที่จะมีแรงซื้อคืนกลับในเวลาต่อมา ตามภาวะตลาดที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ การลงทุนในตราสารหนี้มีความผันผวนของราคาที่น้อยกว่าและมีคาดการณ์อัตราผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอนกว่า ‘ตราสารหนี้’ จึงนับเป็นหนึ่งสินทรัพย์ลงทุนที่เป็นหลุมหลบภัยชั้นดีสำหรับพอร์ตลงทุน โดยเฉพาะในช่วงภาวะตลาดผันผวน
นอกจากการเลือกลงทุนสินทรัพย์ที่เหมาะสม การเลือกกลยุทธ์การลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ในทุกสภาวะตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญ ด้วยลักษณะของการปรับตัวของราคาตราสารหนี้ที่มีความสัมพันธ์กับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ การลงทุนตราสารหนี้ในจังหวะเวลานี้เสริมด้วยกลยุทธ์การลงทุนเชิงรุกที่ปรับพอร์ตลงทุนได้อย่างยืดหยุ่น จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างเสถียรภาพให้กับพอร์ตการลงทุน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงในอนาคต และเปิดโอกาสรับผลตอบแทนส่วนเพิ่มหากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวลงมากกว่าที่ตลาดคาดไว้ในปัจจุบัน
เริ่มด้วยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ซึ่งช่วงปี 2567 ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 3 ครั้ง โดยเริ่มจากการปรับลด 0.50% ในเดือนกันยายน 0.25% ในเดือนพฤศจิกายน และ 0.25% ในเดือนธันวาคม รวมเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 1% ในปี 2567 ในขณะที่ปัจจุบันตลาดเริ่มมีการคาดการณ์ว่า Fed มีโอกาสสูงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นจาก 1-2 ครั้งเป็น 2-3 ครั้งภายในปี 2568 จากระดับ Fed Fund Rate ที่ 4.25-4.50% ในขณะนี้
เช่นเดียวกับนโยบายการเงินของประเทศไทย คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 ในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือน เมษายน 2568 ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.00% เป็น 1.75% เหตุผลหลักมาจากเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวลดลงและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากนโยบายการค้าโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนั้น ตลาดยังคาดการณ์กันว่ากนง.อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้เพิ่มเติมได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตราสารหนี้ เช่น ความเสี่ยงของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงสภาพคล่อง เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ท่านนักลงทุนต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุน ซึ่งความรู้และความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และคัดเลือกตราสารที่มีคุณภาพดี มีความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงทำการกระจายความเสี่ยงรายอุตสาหกรรม รายประเทศ อันดับความน่าเชื่อถือ และอายุตราสารอย่างเหมาะสมประกอบกันเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ออกแบบและบริหารจัดการโดยทีมผู้จัดการกองทุนและนักวิเคราะห์การลงทุนประสบการณ์สูง สามารถช่วยลดทอนความเสี่ยงเหล่านี้ได้ดี
ในสถานการณ์ที่ตลาดทุนยังคงเผชิญกับความผันผวนและความไม่แน่นอนสูง การเลือกลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีกลยุทธ์การลงทุนที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ทันสถานการณ์ เช่น กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Dynamic Bond (SCBDBOND) ของ บลจ. ไทยพาณิชย์ ซึ่งมีการบริหารจัดการเชิงรุกที่มีความยืดหยุ่นสูง โดยมีกรอบดูเรชั่นกว้างตั้งแต่ -10 ถึง 10 ปี ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนดูเรชั่นได้เหมาะสมกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งมีการลงทุนในตราสารหนี้ที่หลากหลายทั้งจากภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยและต่างประเทศ มุ่งหวังผลตอบแทนที่เหนือกว่าโดยไม่ยึดติดกับดัชนีอ้างอิงใดๆ จึงเป็นหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจต่อโอกาสการรับผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่สม่ำเสมอ อีกทั้ง ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับจังหวะลงทุนด้วยตนเอง เพราะมีทีมผู้จัดการกองทุนคอยดูแลพอร์ตลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
นอกจากกองทุนนี้แล้ว บลจ.ไทยพาณิชย์ ยังมีตัวเลือกกองทุนตราสารหนี้อื่นๆ ที่สามารถตอบโจทย์ได้หลากหลายตามความต้องการและเป้าหมายของนักลงทุนที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นการลงทุนระยะสั้นหรือระยะยาว รวมถึงกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ และกองทุนตราสารหนี้ที่มีการกำหนดระยะเวลาลงทุน พร้อมให้นักลงทุนเลือกสรรจัดพอร์ตลงทุนของตนเองได้เต็มที่อีกด้วย
กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ และผลการดำเนินงานในอดีต มิได้ยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ หรือติดต่อหมายเลข 02-777-7777 หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.scbam.com
โดย คุณณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด