ซื้อกองทุนต้องเสียค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง?

26 ตุลาคม 2561

สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งกับผม มิสเตอร์กองทุน เพื่อนรักนักลงทุน ช่วงนี้คำถามที่ผมได้ยินบ่อยๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุน เนื่องจากเพื่อนๆ ของผมหลายคนเริ่มหันมาลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น บางคนศึกษาแค่ผลตอบแทนจากลงทุนจะได้อะไร หรือการลงทุนนำไปลดหย่อนอะไรได้บ้าง จนอาจจะลืมเรื่องสำคัญคือ “ค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียม” ที่ตัวเองจะต้องจ่ายให้กับบริษัทจัดการกองทุนครับ

แล้วรู้หรือไม่ครับว่า “ค่าธรรมเนียมกองทุน” ที่นักลงทุนจะต้องจ่ายนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ด้วยกัน คือ “ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง” และ “ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนโดยหักจากทรัพย์สินของกองทุนรวม” เอ๊ะ แล้วค่าธรรมเนียมทั้ง 2 ประเภทนี้ แตกต่างกันอย่างไร รวมค่าอะไรเอาไว้บ้าง ผมมีภาพง่ายๆ มาให้ทุกท่านอ่านกันครับ โดยจะขอยกตัวอย่างจากค่าธรรมเนียมของกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET50 Index หรือ SCBSET50 ที่ตอนนี้มีการปรับลดค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุน จากเดิม 0.84% ต่อปี เหลือเพียง 0.72% ต่อปี ครับ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. 61 ที่ผ่านมานี่เองครับ

         

แล้วเจ้าค่าธรรมเนียมทั้ง 2 ประเภท นี้ จะโดนคิดค่าใช้จ่ายเมื่อไหร่ เอาเป็นว่าเจ้า “ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง” ตัวนี้ จะถูกคิดค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อผู้ลงทุนมีการซื้อ ขาย สับเปลี่ยน หน่วยลงทุนของกองทุน นั่นเองครับ ส่วน “ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บโดยหักจากทรัพย์สินของกองทุนรวม ที่ผู้ลงทุนส่วนใหญ่คิดว่าไม่มี หรืออาจจะไม่เคยเห็นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ เพราะจะถูกหักออกไปจากทรัพย์สินของกองทุนรวมแล้ว ไม่ได้แสดงให้เห็นเหมือนค่าธรรมเนียมประเภทก่อนหน้า แต่จะถูกนำมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อผู้ลงทุนได้ลงทุนไปแล้วครับ ซึ่งสิ่งที่นักลงทุนควรรู้คือค่าธรรมเนียมประเภทนี้จะถูกหักจากมูลค่าทรัพย์สินโดยรวมของกองทุนรวมทุกวัน โดยกำหนดเป็นอัตราร้อยละต่อปี ดังนั้นการคิดคำนวณ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (NAV) แต่ละวันจะสะท้อนค่าธรรมเนียมเหล่านี้เรียบร้อยแล้ว ทำให้ผลตอบแทนของกองทุนรวมต่ำกว่าผลตอบแทนจริงของทรัพย์สิน เนื่องจากกำไรส่วนหนึ่งนั้นจะถูกนำไปจ่ายค่าธรรมเนียมนี้ครับ

ผมคิดว่านักลงทุนน่าจะเริ่มเข้าใจค่าธรรมเนียมกองทุนกันมากขึ้นแล้วนะครับ หากนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในกองทุนที่มีการบริหารกองทุนแบบ Passive (กองทุนที่เน้นบริหารผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของดัชนี)  ทาง บลจ.ไทยพาณิชย์ ก็มีกองทุน SCBSET50 ไว้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนครับ ไปดูนโยบายการลงทุนกันเลยครับ

นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ คลิก (https://www.scbam.com/th/fund/interesting-fund/fund-information/scbset50)

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับข้อมูลที่มิสเตอร์กองทุนได้นำมาฝากทุกท่านกันในครั้งนี้ เชื่อว่าหลายๆ ท่านจะเข้าใจเรื่องค่าธรรมเนียมกองทุนมากกันมากขึ้นนะครับ โอกาสหน้ามิสเตอร์กองทุนจะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาฝากนักลงทุนกันใหม่ สำหรับวันนี้ สวัสดีคร้าบบบบ

คำเตือน

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา หรือ บลจ.ไทยพาณิชย์ และผู้สนับสนุนการขายทุกราย