SCBAM Market Insight : รายงานภาวะตลาด ประจำวันที่ 23-27 ธ.ค. 2562

23 ธันวาคม 2562

“จับตาการลงนามข้อตกลงทางการค้า Phase 1 ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน”

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น หลังสหรัฐฯ ประกาศรายละเอียดข้อตกลงการค้า Phase 1 เพิ่มเติมแบบยังไม่ลงนาม โดยระบุว่าสหรัฐฯ จะลดอัตราภาษีกับสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 1.12 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ลงเป็น 7.5% จากอัตราเดิมที่ 15% และยกเลิกการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนกลุ่มมูลค่า 1.6 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งเดิมกำหนดให้เริ่มเก็บในวันที่ 15 ธ.ค. ในอัตรา 15% ทำให้ Sentiment ในการลงทุนของประเทศที่ได้รับผลกระทบจาก Supply Chain กลับมาดีขึ้น

สภาผู้แทนฯ ลงมติถอดถอนปธน. Trump ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ภายใต้สองข้อหาได้แก่ การใช้อำนาจในทางมิชอบ (Abuse of power) และการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา (Obstruction of Congress) และคาดวุฒิสภาจะลงมติตัดสินต้นปีหน้า หากสมาชิกวุฒิสภาลงมติตัดสินว่าประธานาธิบดีมีความผิดจริง ด้วยเสียง 2 ใน 3 ขึ้นไป ปธน. Trump ก็จะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง อย่างไรก็ตามวุฒิสภากว่ากึ่งหนึ่งเป็นพรรค Republican ซึ่งเป็นไปได้ยากว่าจะมีมติถอดถอนปธน.

ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ชะลอตัวลง โดยชะลอลงเป็น 0.2% MoM ต่ำกว่าเดือนก่อนที่ 0.4% MoM เนื่องจากยอดขายสินค้าในหลายหมวดหมู่ชะลอตัวลง และยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน สะท้อนอุปสงค์ของผู้บริโภคที่ยังคงอ่อนแอ ทำให้ GDP สหรัฐฯ อาจยังไม่ฟื้นตัวในช่วงนี้

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. ของจีน เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น แต่ภาคการลงทุนยังชะลอตัวอยู่ โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. ขยายตัว 6.2% YoY สูงกว่าเดือนก่อนที่ 4.7% YoY และยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. ขยายตัว 8.0% YoY สูงกว่าเดือนก่อนที่ 7.2% YoY ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือน พ.ย. ทรงตัวที่ 5.2% YoY เท่ากับเดือนก่อน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี คาดว่า PBoC อาจประกาศลดดอกเบี้ย MLF และ RRR ลงเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ตัวเลขส่งออกเดือน พ.ย. ของญี่ปุ่น หดตัวต่อเนื่องตลอดทั้งปี นับเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดในรอบ 3 ปี โดยในเดือน พ.ย. หดตัว -7.9% YoY เป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 นอกเหนือจากการปรับขึ้นปรับขึ้นภาษีสินค้าและบริการที่ 10%

กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และปรับประมาณการณ์ GDP โดยปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2562 และ 2563 ลงมาอยู่ที่ 2.5% และ 2.8% ตามลำดับ ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอ และภาคการส่งออกที่ยังคงอ่อนแอ

ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น หลัง OPEC ตัดสินใจลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลงอีก 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ในการประชุม OPEC ที่ผ่านมา ส่งผลให้สถานะ Long น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน เม.ย. ขึ้นมาอยู่ที่ percentile ที่ 92 จาก 75 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

กลยุทธ์การลงทุน :

“ซื้อ” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิ้ล (SCBPIN)

“ซื้อ” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ เฟล็กซิเบิ้ล เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMPIN)

“เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยุโรป (SCBEUEQ)

“เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ยูเอสสมอลแคป (SCBUSSM)

“ลดน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยูเอส (SCBS&P500)