SCBAM Market Insight : รายงานภาวะตลาด ประจำวันที่ 16-20 ก.ย. 2562 (Update)

13 กันยายน 2562

จับตาการประชุม FED

ในอาทิตย์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นส่วนใหญ่และอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกปรับตัวขึ้น เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมีท่าทีผ่อนคลายมากขึ้น หลังจากที่ปธน. Donald Trump ประกาศเลื่อนการปรับขึ้นภาษีนำเข้าจาก 25% เป็น 30% กับสินค้าจีนกลุ่มมูลค่า 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ออกไปเป็นวันที่ 15 ต.ค. จากกำหนดการเดิมวันที่ 1 ต.ค. นี้ ขณะที่ทางรัฐบาลจีนได้ออกมาประกาศยกเว้นการเก็บภาษีบนสินค้านำเข้าสหรัฐฯ บางรายการ เช่น ยา น้ำมันหล่อลื่น และเคมีภัณฑ์บางอย่าง เป็นต้น โดยยกเว้นการเก็บภาษีเป็นระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่ 17 ก.ย. นี้ ซึ่งจากเดิมที่รัฐบาลจีนได้ปรับขึ้นภาษีไว้ระดับ 25% ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา

ความเสี่ยงสงครามทางการค้ามีแนวโน้มลดลง จากการที่นาย Robert Lighthizer (ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ) กับ นาย Liu He (รองนายกรัฐมนตรีจีน) ตกลงว่าจะพบปะกันเพื่อเจรจาทางการค้าที่กรุงวอชิงตันในช่วงต้นเดือนต.ค. นี้ 

ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำ (Reserve Requirement Ratio: RRR) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการปล่อยกู้ โดยธนาคารกลางจีนประกาศว่า PBoC จะลดอัตราส่วน RRR ลง 50 bps มาอยู่ที่ระดับ 13% สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และ 11% สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ก.ย. นี้

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินตามคาด โดยผลการประชุม ECB ในวันที่ 12 ก.ย. 62 ที่ผ่านมา ECB มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 10 bps. มาอยู่ที่ระดับ -0.5% และยังประกาศใช้มาตรการ QE ที่อัตรา 20 พันล้านยูโรต่อเดือน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พ.ย. นี้

ความเสี่ยงกรณี Hard Brexit ลดลง หลังสภาอังกฤษเห็นชอบให้เลื่อนเส้นตาย Brexit ออกไปจากกำหนดการเดิมในวันที่ 31 ต.ค. 2019 เพราะกังวลว่าจะเกิดกรณี no-deal Brexit ในขณะที่ Boris Johnson พยายามหาทางให้เกิด Brexit ตามกำหนดการเดิม อย่างไรก็ตามความประสงค์ของ Boris Johnson ที่จะให้มีการเลือกตั้งที่เร็วขึ้น อาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเสียงในสภายังมีความเห็นที่แตกต่างกันมาก

จับตาการประชุม Fed ในวันที่ 17-18 ก.ย. คาดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง -25bps เป็น 1.75-2.00% ท่ามกลางสงครามการค้าที่ยังคงมีแนวโน้มยืดเยื้อ ประกอบกับแรงกดดันจากตลาดเงินที่มีความกังวลว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย

จับตาการประชุม กนง. ในวันที่ 25 ก.ย. คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% แต่อาจส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในอนาคตหากตัวเลขเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว

กลยุทธ์การลงทุน :

“ซื้อ” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นจีน THB เฮ็ดจ์ (SCBCEH)

“ซื้อ” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยุโรป (SCBEUEQ)

“เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นญี่ปุ่น (SCBNK225)

“ขาย” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ อิควิตี้ (SCBGIF)