ดัชนี S&P 500 มีความน่าสนใจลงทุนระยะยาว เนื่องจาก 1) เป็นตัวแทนตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวม และกลุ่มบริษัทชั้นนำของโลกในแต่ละอุตสาหกรรม 2) มีการกระจายหลายอุตสาหกรรมและมีการปรับน้ำหนักสม่ำเสมอ ไม่พลาดโอกาสการเติบโตของกลุ่มผู้นำและอุตสาหกรรมเด่นในแต่ละยุคสมัย 3) สร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอในระยะยาว แม้จะมีความผันผวนระหว่างทาง แต่ก็สามารถฟื้นตัวกลับมาทำจุดสูงสุดใหม่ได้บ่อยครั้งในระยะเวลาไม่นาน เนื่องจากแนวโน้มกำไรบริษัทที่เติบโตโดดเด่นกว่าตลาดหุ้นหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงไม่ควรพลาดการลงทุนในดัชนี S&P500 ไม่ว่าจะเลือกลงทุนแบบจับจังหวะตลาดหุ้นขาขึ้น-ขาลง หรือทยอยลงทุนสม่ำเสมอ ผ่านกองทุน SCBS&P500, SCBS&P500A และกองทุนลดหย่อนภาษี เพื่อประโยชน์ทางภาษีทั้ง SSF คือ SCBS&P500-SSF, SCBS&P500(SSFA) และ RMF คือ SCBRMS&P500
สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีของ SCBAM ทั้ง SSF, RMF และ ThaiESG ห้ามพลาด! เพราะเรารวบรวมกองทุนที่น่าสนใจไว้ให้แล้วในช่วงท้ายของบทวิเคราะห์ฉบับนี้
ส่อง 3 ปัจจัย ทำไมต้อง S&P 500
1. ตัวแทนตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวมและกลุ่มบริษัทชั้นนำระดับโลก: ดัชนี S&P500 เป็นดัชนีที่รวมบริษัทขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ 500 บริษัท โดยมีการให้น้ำหนักแบบ Market Cap Weight ส่งผลให้บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูง จะมีสัดส่วนอยู่ในดัชนีสูงตามเช่นกัน โดยดัชนี S&P500 ถือเป็นตัวแทนตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวมได้ดี เนื่องจากมูลค่าตลาดรวมของบริษัทในดัชนีคิดเป็นสัดส่วนราว 80% ของมูลค่าตลาดบริษัททั้งหมดในสหรัฐฯ นอกจากนี้ หลายบริษัทในดัชนี S&P500 เป็นกลุ่มบริษัทชั้นนำของโลกในแต่ละอุตสาหกรรมทั้งสิ้น เช่น Apple ผู้นำโลกในตลาด Smartphone, Nvidia ผู้นำโลกด้านชิปประมวลผล AI, Microsoft ผู้นำโลกด้าน Software การทำงานในองค์กร, Alphabet ผู้นำโลกด้านบริการ Search Engine, Amazon ผู้นำโลกด้านธุรกิจ E-commerce และ Cloud Computing, Meta ผู้นำโลกด้านบริการ Social Network, Eli Lilly ผู้นำโลกในกลุ่มธุรกิจ Healthcare, Tesla ผู้นำโลกในอุตสาหกรรมยานยนต์ EV, JP Morgan สถาบันการเงินชั้นนำของโลก เป็นต้น ดังนั้น การลงทุนในบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงในอุตสาหกรรมของตน ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนในระยะยาวแก่นักลงทุน
2. กระจายหลายอุตสาหกรรมและปรับสัดส่วนสม่ำเสมอเพื่อไม่พลาดผู้ชนะในแต่ละยุค: ดัชนี S&P500 มีการลงทุนกระจายหลากหลายอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ในกลุ่ม Information Technology เป็นหลักสูงถึงราว 31% (Fig.2 ) ซึ่งสอดรับไปกับกระแสการเติบโตของโลกที่กำลังถูกขับเคลื่อนด้วยกลุ่มเทคโนโลยี การกระจายหลากหลายอุตสาหกรรมและมีการกำหนด Rebalance ประจำทุกไตรมาส ช่วยให้การลงทุนผ่านดัชนี S&P500 สามารถเกาะกระแสการเติบโตของอุตสาหกรรมผู้ชนะหรือกลุ่มหุ้นผู้นำ ซึ่งมักจะมีการผลัดเปลี่ยนไปตามแต่ละยุคแต่ละสมัย (Fig.3&4)
3.ผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนในระยะยาว จากกำไรบริษัทที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง: หากพิจารณาข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 2006 จะพบว่าดัชนี S&P500 ให้ผลตอบแทน +387%ซึ่งโดดเด่นกว่าดัชนีประเทศหลักอื่นๆ อย่างชัดเจน เช่น Nikkei225 +144%, STOXX600 +68%, MSCI EM +57% เป็นต้น ถึงแม้ระหว่างทางอาจมีความผันผวนและปรับตัวลงแรงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต่างๆ แต่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็มักใช้เวลาไม่นานในการฟื้นตัวกลับและทำจุดสูงสุดใหม่ (Fig.5 ) แตกต่างจากตลาดหุ้นยุโรป, ญี่ปุ่นและตลาดเกิดใหม่ที่มักผันผวนสูงและใช้เวลาในการฟื้นตัวยาวนานกว่ามาก เราประเมินว่าปัจจัยสำคัญที่สร้างความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนของแต่ละดัชนีในระยะยาว มาจากแนวโน้มการเติบโตกำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมของแต่ละดัชนีนั่นเอง ซึ่งชัดเจนว่าตลอดช่วงเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ดัชนี S&P500 มีแนวโน้มกำไรที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องและผันผวนน้อยกว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่น, ยุโรปและตลาดเกิดใหม่ อย่างชัดเจน (Fig.6) จากผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนระยะยาวช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนสถาบันและรายย่อย ส่งผลต่อความนิยมการลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ กระจายวงกว้างทั่วโลกมากขึ้น
คำแนะนำเชิงกลยุทธ์ สำหรับการลงทุนดัชนี S&P500
กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และขอรับหนังสือชี้ชวน ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา หรือ บลจ.ไทยพาณิชย์ โทร. 02-777-7777 www.scbam.com