Fund Finder : เจาะกระแส Tech & AI กองทุนไหนได้ประโยชน์

4 ตุลาคม 2566

          กระแส AI Boom ถูกพูดถึงในวงกว้างจากทั้งแวดวงผู้ใช้งานและนักลงทุน โดยกลุ่มหุ้นที่เกี่ยวข้องหรือที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากธีมดังกล่าวปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นตั้งแต่ต้นปี จนนักลงทุนบางส่วนเริ่มกังวลว่าหุ้นที่เกาะกระแส AI ใกล้จบรอบหรือเกิดเป็นฟองสบู่แล้วหรือยัง? หากเทียบเคียงกับช่วง Dotcom Bubble ทั้งมิติของระดับการปรับตัวขึ้นและปัจจัยพื้นฐานถือว่ายังเร็วเกินไปที่จะกลายเป็นฟองสบู่ ประมาณการกำไรมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ขณะที่ระดับมูลค่ายังไม่แพงมากจนเกินไป ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้กลุ่มผู้ชนะจะยังรักษาความเป็นผู้ชนะต่อไป ดังนั้น กลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่ได้ประโยชน์จากกระแส AI จึงมีโอกาสไปต่อ เรามองการปรับตัวพักฐานลงมาในรอบนี้ ถือเป็นโอกาสทยอยสะสมลงทุน เพื่อคาดหวังการฟื้นตัวในกรอบระยะ 3 เดือนข้างหน้า กองทุนแนะนำ ได้แก่ SCBNDQ, SCBDIGI และ SCBSEMI โดยนักลงทุนเลือกพิจารณาลงทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยง

Fund Finder

กระแส AI Boom

          สำหรับกระแส AI ซึ่งเป็นที่พูดถึงกันในปัจจุบันมาจากเทคโนโลยี AI ที่พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นเรียกว่า “Generative AI” ซึ่งมีรูปแบบสำคัญคือสามารถสื่อสารกับผู้ใช้งานผ่านภาษามนุษย์โดยตรงแทนที่จะต้องเขียน Code ในการสื่อสารสั่งการเพื่อใช้สำหรับสร้างสรรค์ชิ้นงานต่าง ๆ ผ่านรูปแบบข้อความ, รูปภาพ, วีดีโอจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่โดยใช้ Machine Learning Model ที่เรียกว่า  LLM (Large Language Models) การเปิดตัวโปรแกรม ChatGPT ของบริษัท OpenAI เมื่อช่วงเดือน พ.ย. ปีที่ผ่านมา ถือเป็นก้าวสำคัญในการจุดกระแส AI ขึ้นมาเป็นที่พูดถึงในวงกว้างทั้งแวดวงผู้ใช้งานและนักลงทุน (Fig.1) กระแสดังกล่าวเป็นปัจจัยหนุนสำคัญให้กลุ่มหุ้น “MAG7” (Magnificent 7) ซึ่งประกอบด้วยหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ 7 ตัวแรกของสหรัฐฯ ได้แก่ Apple, Microsoft, Amazon, Nvidia, Alphabet, Tesla และ Meta ปรับตัวขึ้นได้โดดเด่นกว่าตลาดโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ต้นปี (Fig.2 ) จนเริ่มเกิดความกังวลว่ากระแส AI ใกล้จบรอบหรือเกิดเป็นฟองสบู่แล้วหรือยัง ?

“PEARL” Framework สำหรับการวิเคราะห์ผู้ได้ประโยชน์จาก AI

          Goldman Sachs เสนอเครื่องมือ PEARL Framework สำหรับการจัดกลุ่มบริษัทที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเบื้องต้นดังต่อไปนี้

          1. Pioneer: กลุ่มบริษัทผู้นำที่ถือครองเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก หากเทียบเคียงกับกระแส AI ปัจจุบันได้แก่ NVIDIA ที่เป็นผู้นำชิป GPU ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการฝึกฝน AI ให้ฉลาดขึ้น

          2. Enablers: กลุ่มบริษัทที่สามารถนำเทคโนโลยีใหม่มาพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดประโยชน์กับภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนในวงกว้าง หากเทียบเคียงกับกระแส AI ในปัจจุบัน คาดว่า บริษัทที่เข้าข่าย ได้แก่ กลุ่มผู้นำ Cloud Providers เช่น Microsoft, Google และ Amazon

          3. Adaptors: กลุ่มบริษัทที่อยู่นอกอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (non-Tech) แต่สามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่ข้างต้นมาปรับใช้กับโมเดลธุรกิจของตนและทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น เช่น การลดต้นทุนหรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

          4. Reformers: กลุ่มบริษัทเกิดใหม่ที่นำเทคโนโลยีใหม่มาปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมนั้น ๆ รวมไปถึง การท้าทายกลุ่มผู้นำเดิมที่ปรับตัวได้ช้ากว่าจากโครงสร้างองค์กรหรือความลังเลในการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ที่อาจต้องแลกมากับการสูญเสียรายได้จากผลิตภัณฑ์เดิมของบริษัท ตัวอย่าง อุตสาหกรรมยานยนต์ Tesla ถือว่าเป็น Reformers ด้วยการนำเสนอรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือ EV เข้ามาแข่งขันกับเจ้าตลาดเดิมซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการผลิตรถยนต์สันดาปเป็นหลักอย่าง Toyota ที่อาจจะลังเลในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มตัว เพราะกังวลผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์เดิมที่เป็นเครื่องยนต์สันดาป เป็นต้น

          5. Laggard: กลุ่มบริษัทที่ไม่สามารถปรับตัวเท่าทันกับเทคโนโลยีใหม่จนกลายเป็นผู้แพ้ให้กับบริษัทที่สามารถปรับตัวต่อเทคโนโลยีใหม่ได้รวดเร็วกว่า ทั้งนี้ Goldman Sachs มองว่ากลุ่ม Pioneers และ Enablers มักจะเป็น Early Winners ในช่วงแรกของการเกิดเทคโนโลยีใหม่และยังมีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มดังกล่าวสอดคล้องกับมุมมองของเราในระยะ 1-3 เดือนข้างหน้าเช่นกัน ส่วนกลุ่ม Adaptors และ Reformers เราอาจยังเห็นภาพไม่ชัดเจนนักในปัจจุบัน แต่กลุ่มนี้ถือว่ามี Potential Upside สูงกว่าในระยะกลาง-ยาว

Fund Finder

AI Boom vs Dotcom Boom

          นักลงทุนที่กำลังตัดสินใจว่าจะลงทุนกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่หรือไม่ คงมีข้อสงสัยว่า หุ้นกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ชนะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะยังสามารถเป็นผู้ชนะต่อไปได้อีกนานแค่ไหน หรือโฉมหน้าผู้ชนะกำลังจะเปลี่ยนแปลงแล้วหรือไม่ (Fig.6) สถิติในอดีต บ่งชี้ว่า กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ชนะที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ในแต่ละยุคนั้นมักกินระยะเวลายาวนานกว่า 50-60 ปีโดยเฉลี่ย (Fig.7) ตั้งแต่ยุคการเงินรุ่งเรือง (1800s -1850s), ยุคการขนส่ง (1850s-1910s), ยุคพลังงาน (1920s-1970s) และปัจจุบันยุคแห่งเทคโนโลยี (1980s-Now) ซึ่งกินเวลามาแล้วกว่า 40 ปี ถ้าเอาตามค่าเฉลี่ยในอดีตก็อาจเหลือเวลาของกลุ่มผู้ชนะปัจจุบันนี้อีกไม่นานมาก แต่ก็เป็นการยากที่จะใช้ระยะเวลาเฉลี่ยของกลุ่มผู้ชนะในอดีตมาคาดการณ์ระยะเวลาของกลุ่มผู้ชนะในปัจจุบันโดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ดังนั้น เราจึงควรให้น้ำหนักกับปัจจัยพื้นฐานมากกว่า โดยตั้งแต่ปี 2015 กลุ่ม MAG7 มีอัตราการเติบโตของยอดขายและอัตรากำไรสุทธิสูงกว่าตลาดโดยรวมมาโดยตลอด (Fig.8 & 9) ถ้าหากกลุ่มผู้ชนะยังรักษาความโดดเด่นดังกล่าวได้ต่อเนื่อง เราคาดว่ากลุ่มผู้ชนะเหล่านี้จะยังคงสามารถเป็นผู้ชนะต่อไปในระยะข้างหน้าได้

Fund Finder

กลุ่มผู้ชนะ ยังมีโอกาสชนะต่อ

          นักลงทุนที่กำลังตัดสินใจว่าจะลงทุนกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่หรือไม่ คงมีข้อสงสัยว่า หุ้นกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าเป็นผู้ชนะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะยังสามารถเป็นผู้ชนะต่อไปได้อีกนานแค่ไหน หรือโฉมหน้าผู้ชนะกำลังจะเปลี่ยนแปลงแล้วหรือไม่ (Fig.6) สถิติในอดีต บ่งชี้ว่า กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ชนะที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ในแต่ละยุคนั้นมักกินระยะเวลายาวนานกว่า 50-60 ปีโดยเฉลี่ย (Fig.7) ตั้งแต่ยุคการเงินรุ่งเรือง (1800s -1850s), ยุคการขนส่ง (1850s-1910s), ยุคพลังงาน (1920s-1970s) และปัจจุบันยุคแห่งเทคโนโลยี (1980s-Now) ซึ่งกินเวลามาแล้วกว่า 40 ปี ถ้าเอาตามค่าเฉลี่ยในอดีตก็อาจเหลือเวลาของกลุ่มผู้ชนะปัจจุบันนี้อีกไม่นานมาก แต่ก็เป็นการยากที่จะใช้ระยะเวลาเฉลี่ยของกลุ่มผู้ชนะในอดีตมาคาดการณ์ระยะเวลาของกลุ่มผู้ชนะในปัจจุบันโดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ดังนั้น เราจึงควรให้น้ำหนักกับปัจจัยพื้นฐานมากกว่า โดยตั้งแต่ปี 2015 กลุ่ม MAG7 มีอัตราการเติบโตของยอดขายและอัตรากำไรสุทธิสูงกว่าตลาดโดยรวมมาโดยตลอด (Fig.8 & 9) ถ้าหากกลุ่มผู้ชนะยังรักษาความโดดเด่นดังกล่าวได้ต่อเนื่อง เราคาดว่ากลุ่มผู้ชนะเหล่านี้จะยังคงสามารถเป็นผู้ชนะต่อไปในระยะข้างหน้าได้

Fund Finder

Early winners + Potential Adaptors & Reformers ในภาวะ Higher for Longer

          Early winners + Potential Adaptors & Reformers ในภาวะ Higher for Longer กลุ่ม MAG7 มีกระแสเงินสดสูง, สัดส่วนหนี้น้อยและมีความสามารถในการทำกำไรระดับสูง ทำให้กลุ่ม MAG7 นอกจากจะนับเป็นกลุ่มหุ้นเติบโตสูงแล้ว ยังถือว่าเป็นกลุ่มหุ้นที่มีคุณภาพสูงด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นอีกจุดแตกต่างสำคัญของกลุ่ม Early winners ในรอบปัจจุบันกับรอบในอดีต โดยคุณลักษณะคุณภาพสูงยังค่อนข้างสอดรับการสภาวะปัจจุบันที่ Fed อาจค้างดอกเบี้ยระดับสูงไว้ยาวนานหรือ “Higher for longer” เนื่องจากกลุ่มหุ้นคุณภาพสูงสามารถทนทานต่อสภาวะเงินเฟ้อสูงและต้นทุนที่สูงขึ้น ด้วยการผลักภาระไปให้ผู้บริโภคด้วยการขยับราคาขายขึ้นได้มากกว่าบริษัททั่วไป รวมถึงการมีหนี้สินน้อยยังช่วยให้มีภาระต้นทุนดอกเบี้ยน้อยกว่าบริษัททั่วไป นอกจากนี้หากพิจารณาสถิติตั้งแต่ปี 1998 ในช่วงเวลาหลัง Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายไปแล้วแต่ยังไม่กลับไปลดดอกเบี้ยและเศรษฐกิจยังไม่ถดถอย พบว่าหุ้นกลุ่มคุณภาพสูงมักปรับตัวขึ้น Outperform ตลาดหุ้นโลกโดยรวมได้ (Fig.10)

          สำหรับมุมมองต่อกลุ่มหุ้นเติบโตสูงแต่ยังไม่มีกำไร (Hypergrowth) ซึ่งอ่อนไหวต่อแนวโน้มดอกเบี้ยสูงและถูกเทขายทำกำไรรุนแรงในปีที่ผ่านมาจนใกล้เคียงระดับฟองสบู่แตกช่วงปี Dotcom Bubble (Fig.11) ถึงแม้เรามองว่าความเสี่ยงของการปรับฐานแรงเพิ่มเติม น่าจะค่อนข้างจำกัด แต่หุ้นประเภท Hypergrowth ยังได้รับแรงกดดันจากสภาวะดอกเบี้ยสูงยาวนานต่อไปจนกว่า Fed จะเริ่มกลับมาลดดอกเบี้ยอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าจะมีบางบริษัทในกลุ่มดังกล่าวที่สามารถนำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้กับธุรกิจหรือสามารถต่อยอดสร้างโมเดลธุรกิจที่ปฏิวัติวงการได้ จะสามารถผลักดันให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่ากลุ่มท่ามกลางปัจจัยมหภาคข้างต้นที่ยังไม่สนับสนุนก็ตาม ความเสี่ยงสำคัญคือ ในกรณีที่ผลประกอบการออกมาไม่เป็นไปตามความคาดหวังและเริ่มถูกปรับลดคาดการณ์การเติบโตลง มุมมองของตลาดต่อหุ้นกลุ่มที่เกาะกระแส AI จะเปลี่ยนไป และมีโอกาสถูกเทขายทำกำไรได้เช่นกัน

Fund Finder

กองทุนแนะนำ เกาะกระแส Tech & AI

          • SCBNDQ: กองทุน Passive fund ที่ล้อไปกับดัชนี NASDAQ100 ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีและกลุ่มเติบโตสูง โดยกลุ่ม MAG7 มีสัดส่วนในดัชนีค่อนข้างสูงราว 40-50% ซึ่งเราคาดว่าจะยังสามารถเกาะกระแส AI ในฐานะ Early winners ไปต่อได้ในระยะ 3 เดือนข้างหน้า จากแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ยังปรับคาดการณ์ขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับระดับ Valuation ที่ยังไม่ได้แพงมากเกินไปถึงขั้น Extreme level (Fig.13 ) ดังนั้นเราจึงมองเป็นโอกาสทยอยสะสมลงทุนในช่วงตลาดหุ้นปรับตัวพักฐานในปัจจุบัน และเนื่องจากลักษณะกองทุนที่เป็น Passive ล้อตามดัชนี ทำให้มีค่าธรรมเนียมต่ำและไม่มีความเสี่ยงเรื่องผู้จัดการกองทุน ก็อาจเหมาะสำหรับการทยอยลงทุนระยะยาวในรูปแบบกองทุนลดหย่อนภาษี RMF (SCBRMNDQ(A)) หรือSSF (SCBNDQ(SSF)) ด้วยเช่นกัน

          • SCBDIGI: ลงทุนในกองทุนหลักคือ BNP Paribas Disruptive Technology ซึ่งเป็นกองทุนประเภท Active Fund ที่บริหารโดย BNP Paribas Asset Management ซึ่งมีประสบการณ์ลงทุนยาวนานและสามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มมากกว่าดัชนีอ้างอิง (MSCI World) อย่างสม่ำเสมอ แนวทางการลงทุนอยู่บน 6 ธีมหลัก ได้แก่ Cloud Computing, AI, Internet of Things, Automation, Foundational Technologies และ Emerging themes  ซึ่งกองทุนมีลักษณะ High Conviction ลงทุนหุ้นราว 40-50 ตัวที่คาดว่าจะปรับตัวโดดเด่นกว่าตลาดหุ้นโดยรวม โดย 85% ของพอร์ตลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีกำไรแล้วโดยเป็นกลุ่ม MAG7 ราว 20% และอีก 15% ของพอร์ตจะลงทุนในกลุ่มหุ้นขนาดเล็กที่เติบโตสูงและอาจกลายเป็นผู้ชนะระยะยาวจากธีมดังกล่าวได้ สำหรับ Top 10 Holdings ของกองทุนยังมีแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนปรับคาดการณ์ขึ้นต่อเนื่อง และระดับ Valuation ที่ยังไม่แพง โดยมีถึง 8 จาก 10 ตัวแรกที่มีค่า 12M Forward PE ต่ำกว่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี (Fig.14)

          • SCBSEMI: ลงทุนในกองทุนหลัก คือ VanEck Semiconductor ETF (SMH) เน้นลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ Semiconductor ทั่วโลก ซึ่งจะได้ผลบวกจากกระแส AI Boom ชัดเจนจากการเป็นสินค้าต้นน้ำสำคัญ หรือถือว่าเป็นมันสมองให้กับการพัฒนา Generative AI นั่นเอง นอกจากนี้หุ้นในกลุ่ม Semiconductor ยังคาดหวังการฟื้นตัวกลับมาของเหล่าสินค้า Consumer Electronics เช่น PC, Smartphone, Gadgets ต่าง ๆ หลังจากระดับสินค้าคงคลังลดลงใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว โดย Top 10 Holdings มีแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนปรับคาดการณ์ขึ้นต่อเนื่อง แต่ระดับ Valuation ถือว่าอยู่ในโซนค่อนข้างแพงแล้ว (Fig.15) ดังนั้นกองทุนจึงมีความเสี่ยงที่สูงกว่า 2 กองทุนก่อนหน้า เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความผันผวนได้สูง

Fund Finder

 

          ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ 

          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และขอรับหนังสือชี้ชวน ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา หรือ บลจ.ไทยพาณิชย์ โทร. 02-777-7777  www.scbam.com