SCBAM Market Insight : Report on July 5-9, 2021

5 July 2021

“ตลาดหุ้นยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากเชื้อกลายพันธุ์ Delta”

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นบางประเทศยังคงได้รับปัจจัยกดดันจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่กลับมาเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง จากเชื้อกลายพันธุ์ Delta ซึ่งมีจุดกำเนิดในอินเดีย โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรป อีกทั้งในช่วงก่อนหน้า Fed เริ่มมีการส่งสัญญาณโดยมีทิศทางนโยบายการเงินที่จะเข้มงวดขึ้นและคณะกรรมการได้เริ่มหารือถึงแผนการลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Taper) อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเรื่องแผนขึ้นภาษีของปธน. Biden ที่เริ่มเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในเดือนนี้ อย่างไรก็ดี ตลาดโดยรวมยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในหลายประเทศ เนื่องจากความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน โดยล่าสุดประเทศพัฒนาแล้วฝั่งตะวันตก เช่น สหรัฐฯ และยุโรปมีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนถึง 54.02% และ 41.21% ของจำนวนประชากรทั้งหมดตามลำดับ ขณะที่ประเทศภูมิภาคเอเชียไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย ฉีดไปแล้ว 29.91%, 23.44%, 19.67% และ 9.90% ตามลำดับ

Bloomberg Consensus คาด GDP ไตรมาส 2 ของสหรัฐฯ จะขยายตัว 9.2% QoQ เร่งตัวขึ้นจาก 6.4% QoQ ในไตรมาสก่อนหน้า จากแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแจกเช็คเงินสด ท่ามกลางอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่เกิดปัญหาขาดแคลนด้านอุปทาน ซึ่งอาจส่งผลให้เงินเฟ้อขยายตัวสูงเกินเป้าหมายที่ 2% เป็นระยะเวลานานกว่าคาด

การจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.92 แสนตำแหน่งในเดือน มิ.ย. ดีกว่าที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6.00 แสนตำแหน่ง โดยหลักมาจากกลุ่มการโรงแรมและการพักผ่อน สะท้อนตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวดีต่อเนื่องตามการเปิดเศรษฐกิจและการแจกจ่ายวัคซีนที่เป็นวงกว้างมากขึ้น และหนุนการจ้างงานในภาคบริการ

ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 รอบสามในไทยชัดเจนขึ้น หลังมีการ Lockdown อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนหดตัวลง -3.1% MoM จากขยายตัว +12.6% MoM ในเดือนก่อน ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังคงอ่อนแอมากเช่นเดิม ซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 6.1 พันคน จาก 8.5 พันคนในเดือนก่อน เป็นผลจากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังเข้มงวดสูงทั่วโลก

ดัชนี PMI ของทางการจีนเดือน มิ.ย. ปรับตัวลดลงเล็กน้อย -0.1 จุด เป็น 50.9 จุด แต่ดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 50.8 จุด ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อภายนอกประเทศถูกกดดันจากการระบาดของ COVID-19 บริเวณท่าเรือ Yantian ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นท่าเรือส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะไปยังประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐฯ และยุโรป อีกทั้งการระบาดระลอกใหม่ยังนำไปสู่การบังคับใช้มาตรการคุมเข้มในบางเมือง

ยอดค้าปลีกเดือน พ.ค. ของญี่ปุ่น หดตัว -0.4% MoM จากผลกระทบของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินรอบใหม่ ใน 10 จังหวัด ซึ่งรวมถึง Tokyo และ Osaka ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย. จนถึงวันที่ 20 มิ.ย. ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดจากการหดตัวของการผลิตในกลุ่มยานยนต์

กลยุทธ์การลงทุน

“ซื้อ” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Sustainable Equity  (SCBGEESGA)

“เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอส แอคทีฟ (SCBUSAA)

“เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ บิลเลียนแนร์ (SCBBLN)

“เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นเกาหลี (SCBKEQT)   

“เพิ่มน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ตราสารหนี้ US Short Duration High Income (SCBUSHYA)

“ลดน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยุโรป (SCBEUEQ)

“ลดน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยุโรปสมอลแคป (SCBEUSM)

“ลดน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล ฟิกซ์ อินคัม (SCBFIN)

“ลดน้ำหนักการลงทุน” กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยูเอส (SCBS&P500)