เริ่มออมเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี

และกระจายความเสี่ยง

ด้วยการจัดสรรสินทรัพย์การลงทุน



  สมการการออมที่หลายคนคงเคยได้ยิน คือ รายได้ - เงินออม = ค่าใช้จ่าย เป็นสมการที่ทฤษฎีด้านการลงทุน แต่ปัญหาคลาสสิกของมนุษย์เงินเดือนโดยเฉพาะเหล่า First Jobber คือรายได้เมื่อเข้ากระเป๋าแล้วยังไม่ต้องหักเงินออม ค่าใช้จ่ายก็เรียงแถวมาดักหน้าเรียบร้อยไม่ว่าจะเป็น ค่าที่อยู่อาศัย ค่าเดินทาง ค่าอาหาร สถานการณ์เดือนชนเดือนช่างใกล้ตัวเรายิ่งนัก

  ณ จุดนี้ ขอแนะนำให้ลองนั่งลิสค่าใช้จ่ายออกมาว่าแต่ละเดือนเรามีอะไรบ้าง ไม่แน่เราอาจจะเจอค่าใช้จ่ายที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินออมเพื่อการลงทุนได้ ผมขอยกตัวอย่าง กาแฟแมงดาวของไทยที่มีราคาแพงเป็นอันดับ 4 ของโลก โดยค่าเครื่องดื่มส่วนใหญ่จะอยู่ที่แก้วละ 150 บาท ถ้าเราดื่มทุกวันแสดงว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะอยู่ที่เดือนละ 4,500 บาท นี่คือ 1 ใน 3 ของเงินเดือนขั้นต่ำเชียวนะ แต่ทางเราก็เข้าใจว่าของมันต้องกิน เราละไม่ได้ก็เปลี่ยนมาเป็นลดกันดีกว่า จากที่เราต้องดื่มทุกวันก็เปลี่ยนเป็นวันเว้นวัน แล้วนำค่ากาแฟของวันที่ลดมาเปลี่ยนเป็นเงินออมเพื่อการลงทุนแทน เราก็จะมีเงินเก็บถึง 27,000 บาทต่อปี เดือนละ 2,250 บาท [150 บาท x 15 วัน] หรือ ปีละ 27,000 บาท [2,250 บาท x 12 เดือน] มูลค่าเงินก้อนนี้จะพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ดังนั้นเชื่อเถอะว่าเก็บเงินเร็วกว่าย่อมมีชัยกว่า และสำหรับเพื่อนๆ บางคนที่คิดว่า 27,000 บาท ยังเยอะอยู่เอางี้เริ่มต้นง่ายๆ ที่ปีละ 10,000 บาทก็ได้ ซึ่งจะคำนวณให้เห็นง่ายๆ ตามตัวอย่าง ดังนี้

จากตัวอย่างด้านบนอาจจะไม่เห็นภาพชัดเจน ลองมาเปรียบเทียบเป็นตารางกันดูครับ

  ดูจากตัวเลขสุดท้ายแล้วจะเห็นว่าการเริ่มลงทุนช้ากว่ากัน 10 ปี ทำให้สองคนนี้เมื่อมีอายุ 60 ปี จะมีเงินเก็บต่างกันถึง 1,899,450 บาท เพราะฉะนั้นถ้าจากตัวเลขตามตัวอย่างแล้ว เราควรจะเริ่มออมเร็วตั้งแต่วันนี้จะดีกว่า ถือคติออมก่อนรวยก่อน และควรจัดการสภาพการเงินให้เหมาะสมรวมถึงมีความต่อเนื่องในการลงทุน

นอกจากการออมหรือลงทุนให้เร็วแล้ว
  เราอาจจะต้องหาตัวช่วยหรือเครื่องมือทางการเงิน ที่จะตอบโจทย์ในด้านการลงทุน เพื่อให้เราบรรลุเป้าหมายการลงทุนและมีเงินเก็บในระยะยาวที่มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนมากมายที่เป็นตัวช่วย ในการสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้อีกทางหนึ่ง และหนึ่งในผลิตภัณฑ์การลงทุนก็คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยให้เรามีวินัยในการเก็บออมอย่างต่อเนื่องและได้ผลตอบแทนจากการลงทุน อีกทั้งยังได้เงินในส่วนที่เป็นเงินสมทบของนายจ้างอีกทางหนึ่งด้วย โดยปัจจุบันมีรูปแบบการลงทุนให้สมาชิกกองทุนเลือกสัดส่วนการลงทุนด้วยตนเองในรูปแบบที่เรียกว่า Employee’s choice ซึ่งถือว่าเป็นการจัดสรรสินทรัพย์การลงทุนได้อีกทางหนึ่ง โดยเราสามารถทำแบบประเมินความเสี่ยง เพื่อให้เราทราบและเป็นแนวทางในการวางแผนในการลงทุนว่าควรเลือกลงทุนในสินทรัพย์ใด สัดส่วนเท่าไร เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินในอนาคตที่ตนเองวางไว้ได้

ที่มา : หนังสือจัดทัพลงทุน

  เมื่อทราบเป้าหมายในการลงทุน รวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตนเองแล้ว ขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การจัดพอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงและเป้าหมายการลงทุนดังกล่าวในการจัดพอร์ตการลงทุนที่ดีควรกระจายการลงทุนไปให้หลากหลายแต่ไม่ใช่มากจนเกินไป การลงทุนทุกอย่างแบบจัดเต็มก็อาจจะทำให้ไม่ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดเสมอไป ดังนั้นต้องคอยติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องซึ่ง บลจ.ไทยพาณิชย์ ก็มีรูปแบบการลงทุนที่เรียกว่า Employee’s choice เพื่อให้พนักงานสามารถเลือกสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง

ตัวอย่างเช่น
   1.นางสาวเริ่มออมอายุ 25 ปี เริ่มต้นทำงาน ยังไม่มีภาระทางการเงินที่ต้องรับผิดชอบมาก รับความเสี่ยงได้สูง คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนสูง รับการขาดทุนได้มาก อาจเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง สัดส่วนการลงทุนก็อาจเลือกลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสในการให้ผลตอบแทนสูง ได้ในสัดส่วนมากกว่า 70%

  2.นายเกือบเกษียณ อายุ 50 ปี เงินเดือนสูง แต่ภาระทางการเงินก็มากทั้งค่าผ่อนบ้าน รถ และค่าใช้จ่ายของบุตร มีเงินที่เก็บออมมาจากการทำงานตลอดชีวิตก้อนเดียว คาดหวังผลตอบแทนเพียงแค่ชนะเงินเฟ้อในระยะยาวอย่างมั่นคงได้ก็เพียงพอ อาจเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่รับความเสียงได้ต่ำ สัดส่วนการลงทุนก็อาจเลือกลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ที่ความเสี่ยงต่ำเป็นหลัก ไม่ควรลงทุนในหุ้นเกิน 30% เป็นต้น

จากข้อมูลตัวอย่างที่แตกต่างกัน
   จะเห็นว่าพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนทั้ง 2 ท่านแตกต่างกัน พูดง่ายๆ ว่า การเลือกจัดพอร์ตให้เหมาะสมนั้น จะสามารถช่วยกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง แต่จะยังคง สามารถสร้างผลตอบแทนที่มากบนระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนแต่ละรายยอมรับได้นั่นเอง อย่างไรก็ดี หลังจากลงทุนแล้วควรมีการติดตามการลงทุน รวมทั้งพิจารณาปรับพอร์ตการลงทุนด้วย ไม่ใช่เพียงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดการลงทุนที่อาจเปลี่ยนไป แต่ยังรวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับช่วงอายุ ประสบการณ์ และเป้าหมายการลงทุนของตนเองที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตอีกด้วย

  สุดท้ายแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเริ่มลงทุนจริงทันที เพราะหากคุณมีแผนการลงทุน พอร์ตการลงทุนที่ดีอย่างไร การปล่อยเวลาให้ผ่านไป ทำให้คุณอาจเสียโอกาสในการลงทุน ระยะเวลาในการลงทุนก็น้อยลงและอาจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลงทุนที่วางไว้ได้ทัน

“ศึกษาแล้วลงทุนเลย

อย่าลืม..ออมก่อนรวยก่อน”

คู่มือการใช้งาน

SCB myProvident Application