บริหารจัดการกองทุนรวม SCBAM
บน SCBAM FUND CLICK ได้แล้ววันนี้

SCBAM FUND CLICK
Application Features
SCBAM Fund Click เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ลงทุนที่เปิดบัญชีกองทุนภายใต้การดูแลของ บลจ.ไทยพาณิชย์ เท่านั้น โดยเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับจัดการกองทุนรวมของ บลจ.ไทยพาณิชย์ ที่ครบครันตั้งแต่เช็คสถานะคำสั่งซื้อขาย ติดตามพอร์ตการลงทุน รวมถึงศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมเพื่อประกอบการตัดสินใจ สะดวกสบายทุกที่ทุกเวลา
ข้อมูลพอร์ตการลงทุน
ซื้อ ขาย สับเปลี่ยน กองทุนรวม
เช็คสถานะคำสั่งซื้อขาย
ครบทุกข้อมูลกองทุนรวม

Step 1
กด
"Open New Account"

Step 2
เลือก
"SCBAM"

Step 3
โปรดระบุ
"ข้อมูลส่วนตัว"

Step 4
กำหนด Username
"พร้อมกับรหัสผ่าน 6-10 ตัวอักษร"

Step 5
โปรดระบุ
"คำถามรักษาความปลอดภัย"
ลูกค้าจะได้รับ Email ยืนยันจาก Settrade และรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ SCBAM
คําถามที่พบบ่อย (FAQ)
1. การแบ่งชนิดหน่วยลงทุนคืออะไร
  ในปัจจุบันเพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุน บลจ.มีการแบ่งชนิดหน่วยลงทุนดังนี้ ( บางกองทุนอาจยังไม่เปิดให้บริการทุกชนิด )
● ชนิดสะสมมูลค่า (A-Class) สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
● ชนิดรับซื้อคืนอัตโนมัติ (R-Class) สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการรับกระแสเงินสดจากการขายคืนหน่วยลงทุนบางส่วน โดย บลจ.จะทำการขายหน่วยลงทุนบางส่วนคืนผู้ถือหน่วยโดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวน
● ชนิดจ่ายเงินปันผล (D-Class) สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการรับเงินปันผล โดยมีกองทุนจะมีการจ่ายเงินปันผลตามเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวน
● ชนิดผู้ลงทุนกลุ่ม / บุคคล (P-Class) สำหรับผู้ลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ/หรือ กองทุนส่วนบุคคล ภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการ
● ชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Class) สำหรับผู้ลงทุนที่ทำการซื้อขายหรือสับเปลี่ยนกองทุนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เช่น ผ่านทางแอพพลิเคชั่น SCBAM Fund Click
● ชนิดสะสมมูลค่า (A-Class) สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
● ชนิดรับซื้อคืนอัตโนมัติ (R-Class) สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการรับกระแสเงินสดจากการขายคืนหน่วยลงทุนบางส่วน โดย บลจ.จะทำการขายหน่วยลงทุนบางส่วนคืนผู้ถือหน่วยโดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวน
● ชนิดจ่ายเงินปันผล (D-Class) สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการรับเงินปันผล โดยมีกองทุนจะมีการจ่ายเงินปันผลตามเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวน
● ชนิดผู้ลงทุนกลุ่ม / บุคคล (P-Class) สำหรับผู้ลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ/หรือ กองทุนส่วนบุคคล ภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการ
● ชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Class) สำหรับผู้ลงทุนที่ทำการซื้อขายหรือสับเปลี่ยนกองทุนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เช่น ผ่านทางแอพพลิเคชั่น SCBAM Fund Click
2. ลักษณะพิเศษของชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Class) คืออะไร
● เพื่อเป็นการเพิ่มอิสระในการลงทุนของผู้ลงทุน บลจ.จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมการซื้อ (Front-end Fee) และค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) จากหน่วยลงทุนชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Class)
3. บลจ.จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมการซื้อและค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นระยะเวลานานเท่าไร
● ปัจจุบัน บลจ.ยังไม่มีนโยบายที่จะเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวแต่อย่างใด
4. ข้อจำกัดของชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Class) เมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ คืออะไร
  บลจ.ขอสงวนสิทธิจำกัดให้มูลค่าการลงทุน (E-Class) ของทุกกองทุนภายใต้การจัดการของ บลจ.รวมกันแล้วไม่เกิน 1 ล้านบาท
● ตัวอย่างเช่น
หากผู้ลงทุนมีการลงทุน 7 แสนบาทในกองทุน ก. (E-Class) และ 2 แสนบาทในกองทุน ข. (E-Class) ผู้ลงทุนจะสามารถซื้อกองทุน ก. (E-Class) หรือ กองทุน ข. (E-Class) ได้อีกรวมแล้วไม่เกิน 1 แสนบาท
● อย่างไรก็ดี
การลงทุนในชนิดหน่วยลงทุนอื่นๆ (Class A, R, D, P) จะไม่ถูกนำมานับรวมในข้อจำกัดนี้ ตัวอย่างเช่น หากผู้ลงทุนมีการลงทุน 7 แสนบาทในกองทุน ก. (E-Class) และ 2 แสนบาทในกองทุน ข. (E-Class) ผู้ลงทุนจะยังสามารถซื้อกองทุน ก. (E-Class) หรือ กองทุน ข. (E-Class) ได้อีกรวมแล้วไม่เกิน 3 แสนบาท
● ตัวอย่างเช่น
หากผู้ลงทุนมีการลงทุน 7 แสนบาทในกองทุน ก. (E-Class) และ 2 แสนบาทในกองทุน ข. (E-Class) ผู้ลงทุนจะสามารถซื้อกองทุน ก. (E-Class) หรือ กองทุน ข. (E-Class) ได้อีกรวมแล้วไม่เกิน 1 แสนบาท
● อย่างไรก็ดี
การลงทุนในชนิดหน่วยลงทุนอื่นๆ (Class A, R, D, P) จะไม่ถูกนำมานับรวมในข้อจำกัดนี้ ตัวอย่างเช่น หากผู้ลงทุนมีการลงทุน 7 แสนบาทในกองทุน ก. (E-Class) และ 2 แสนบาทในกองทุน ข. (E-Class) ผู้ลงทุนจะยังสามารถซื้อกองทุน ก. (E-Class) หรือ กองทุน ข. (E-Class) ได้อีกรวมแล้วไม่เกิน 3 แสนบาท
5. จะเกิดอะไรขึ้นหากลงทุนในกองทุน ก. E-Class แล้วมูลค่าการลงทุนเปลี่ยนแปลงไปจากการเคลื่อนไหวของตลาด
● หากลงทุนในกองทุน ก. (E-Class) เป็นมูลค่า 5 แสนบาท แล้วมีกำไรเป็น 7 แสนบาท ผู้ลงทุนจะยังสามารถซื้อ (E-Class) ของกองทุนใดๆได้รวมแล้วไม่เกินอีก 3 แสนบาท
● หากลงทุนในกองทุน ก. (E-Class) เป็นมูลค่า 5 แสนบาท แล้วขาดทุนเหลือ 4 แสนบาท ผู้ลงทุนจะยังสามารถซื้อ E-Class ของกองทุนใดๆได้รวมแล้วไม่เกินอีก 6 แสนบาท
● หากลงทุนในกองทุน ก. (E-Class) เป็นมูลค่า 5 แสนบาท แล้วขาดทุนเหลือ 4 แสนบาท ผู้ลงทุนจะยังสามารถซื้อ E-Class ของกองทุนใดๆได้รวมแล้วไม่เกินอีก 6 แสนบาท
6. หากลงทุนใน E-Class ในตอนแรกไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อมามีกำไร ทำให้มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านบาท บลจ.จะคิดค่าธรรมเนียมอย่างไร
● บลจ.จะไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมการจัดการใดๆกับทั้ง 2 ล้านบาทที่ผู้ลงทุนมีอยู่ใน E-Class แต่ผู้ลงทุนจะไม่สามารถซื้อกองทุน E-Class ใดๆของบลจ.เพิ่มเติมได้
7. หากลงทุนใน E-Class เต็ม 1 ล้านบาทแล้วอยากลงทุนเพิ่มเติม ควรทำอย่างไร
● ผู้ลงทุนยังสามารถลงทุนในชนิดหน่วยลงทุนอื่น (Class A, R, D) ของกองทุนนั้นๆได้ แต่เฉพาะส่วนที่ลงทุนใน E-Class เท่านั้นที่จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการซื้อและค่าธรรมเนียมการจัดการ
8. ปัจจุบันกองทุนของบลจ.ที่มีการเปิดให้บริการ E-Class มีกองทุนใดบ้าง
● ทาง บลจ.จะเปิดให้บริการ E-Class สำหรับกองทุนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์เซ็ท อินเด็กซ์ ฟันด์ (SCBSETFUND) ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2561
● E-Class ของกองทุนอื่นๆ บลจ.จะแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบในเวลาต่อไป
● E-Class ของกองทุนอื่นๆ บลจ.จะแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบในเวลาต่อไป
9. หากมีบัญชีซื้อขายกองทุนผ่าน SCB Easy อยู่แล้ว ต้องเปิดบัญชีใหม่หรือไม่
● หากท่านผู้ลงทุนยังไม่เคยเปิดบัญชีลงทุนกับ บลจ.โดยตรง ท่านจะได้รับอีเมล์ขั้นตอนการเปิดบัญชี SCBAM Fund Click จากบลจ. และจำเป็นต้องเปิดบัญชีใหม่
● หากท่านผู้ลงทุนเคยเปิดบัญชีลงทุนกับ บลจ.โดยตรง ท่านจะได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่บลจ.เพื่อยืนยันตัวตน ในกรณีนี้ ท่านผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีใหม่
● หากท่านผู้ลงทุนเคยเปิดบัญชีลงทุนกับ บลจ.โดยตรง ท่านจะได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่บลจ.เพื่อยืนยันตัวตน ในกรณีนี้ ท่านผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีใหม่
10. สามารถสับเปลี่ยนกองทุน E-Class ได้หรือไม่
● ปัจจุบันกองทุนประเภท E-Class ยังไม่สามารถสับเปลี่ยนได้ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ทาง บลจ. จะแจ้งให้ผู้ลงทุนรับทราบในลำดับต่อไป