ลดหย่อนภาษี ปี 2561

#เรื่องควรรู้ เรียนรู้ต่อไม่รอแล้วน้า



สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2561

สำหรับปี 2561 ปลายปีแบบนี้ ทุกคนต่างเลือกใช้สิทธิลดหย่อนภาษีที่มีอยู่มากมาย และเตรียมความพร้อมก่อนยื่นแบบฯ ภ.ง.ด. 90, 91 ดังนั้นวันนี้มิสเตอร์กองทุนมีเรื่องลดหย่อนภาษีสำหรับปี 2561 แบบคร่าวๆ มาบอกกันครับ..

ค่าลดหย่อน : ส่วนตัว
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท สำหรับผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ หักรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาทต่อคน บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ที่เกิดในหรือหลังปี 2561 ได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์ และคลอดบุตรสูงสุด ไม่เกิน 60,000 บาท
ค่าลดหย่อน : ครอบครัวของเรา
  • ค่าเลี้ยงดู บิดา-มารดา ผู้มีเงินได้ และ บิดามารดาคู่สมรสคนละ 30,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 120,000 บาท *อายุ 60 ปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
  • เบี้ยประกันสุขภาพ บิดา-มารดาไม่เกินคนละ 15,000 บาท *มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท
  • อุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือ คนทุพลลภาพคนละ 60,000 บาท
ค่าลดหย่อน : เพื่อส่งเสริมการออมและการลงทุน

  • ประกันสังคม ไม่เกิน 9,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพไม่เกิน 15,000 บาท รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส ไม่มีเงินได้ไม่เกิน 10,000 บาท
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีไม่เกิน ไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ ไม่เกิน 13,200 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ 15% ของเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

หมายเหตุ : ค่าลดหย่อนภาษี RMF + เงินสะสม กบข. + เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน + เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ + เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ รวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าลดหย่อน : สินทรัพย์กระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ
ค่าลดหย่อน : เงินบริจาค
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา / กีฬา / การพัฒนาสังคมและโรงพยาบาลรัฐหักได้ 2 เท่าของเงินที่ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  • เงินบริจาคทั่วไป ตามที่ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลักหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

  นี่แหละครับที่มิสเตอร์กองทุนกล่าวมาทั้งหมด เป็นสิทธิที่เราควรรู้ เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่านเอง ภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราต้องเจอะเจอกันทุกปี รู้ไว้ใช่ว่า... ทำความเข้าใจกันให้ถี่ถ้วนก่อนนะครับ เนื่องจากการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องที่มีข้อมูลเยอะมากๆ มิสเตอร์กองทุนขอให้ศึกษาข้อมูลด้านภาษีเพิ่มเติมที่ ▷ กรมสรรพากร สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน ปิดปีสวยๆ ต้องคำว่า “Happy New Year 2019” นะครับทุกท่าน อย่าลืมติดตามบทความดีๆ ปี 2019 ที่เราจะมีมาให้ท่านได้ศึกษากันอย่างต่อเนื่องครับ..

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กรมสรรพากร