ตลาดผันผวน อยากลงทุนกองทุนแบบผสมสัดส่วนมีทางออกนะครับ

13 กรกฎาคม 2561

ช่วงเดือน มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ในมุมของการลงทุนมีกระแส “สถานการณ์สงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน”
ซึ่งมีผลต่อความกังวลของนักลงทุนทั่วโลก และสุดท้ายก็ทำให้ ดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) ร่วงลงอย่างเห็นได้ชัด  เช่นกัน

สำหรับนักลงทุนเองแล้ว คงมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย อาทิเช่น จะติดดอยไหม? กองทุนที่ซื้อมาติดลบแล้ว ควรขายเลยดีไหม? แต่สถานการณ์แบบนี้ ถ้าพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส  หากไม่ต้องรีบใช้เงิน และมองการลงทุนในระยะยาวก็ลงทุนได้ แต่ไม่ใช่ เข้าลงทุนโดยไม่คิดนะครับ แต่ควรมองการลงทุนแบบจัดสรรเงินลงทุนรองรับสถานการณ์แทน การที่เกิดสงครามทางการค้าในโลกวันนี้ สงสัยกันบ้างไหมครับว่า  สงครามการค้าดังกล่าวส่งผลต่อตลาดการลงทุนอย่างไร แล้วเราอยู่ตั้งไกลไปเกี่ยวข้องอะไรกับเค้ากัน...

สงครามทางการค้า ระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่เริ่มรุนแรงขึ้น ส่งผลอะไร...?

เรื่องราวมันเริ่มมาจาก เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561 ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ได้ลงนาม และ มี คำสั่งให้สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (U.S. Trade Representative: USTR) พิจารณาเก็บภาษี นำเข้า (import tariff) ที่อัตรา 25% สำหรับสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่ารวมราว 6 หมื่นล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าราว 2.5% ของการนำเข้าทั้งหมดของสหรัฐฯ หรือ 11.4% ของการนำเข้าจาก จีนในปี 2560 ทั้งนี้ USTR จะต้องนำเสนอรายชื่อสินค้าที่จะถูกเก็บภาษีภายใน 15 วันหลังจากนี้

และเบื้องต้น ทางการจีนก็ออกประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ กว่า 128 รายการ มีมูลค่ารวมกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าสหรัฐฯ เป็นการตอบโต้ ที่มีแนวโน้มถูกเก็บภาษี ได้แก่ ท่อเหล็ก ผลไม้ และไวน์ที่อัตรา 15% และเนื้อหมูและอลูมิเนียมรีไซเคิลที่อัตรา 25%

โดยตลาดการเงินก็ตอบสนองค่อนข้างรุนแรง แสดงความกังวลว่าจะเกิดสงครามการค้า (Trade War) ภายหลังการลงนามของทรัมป์และการออกมาประกาศเตรียมพร้อมตอบโต้ ของจีน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดตลาดลดลงจากวันก่อนหน้าหลายตลาดฯ คลิกเพื่ออ่านเพิ่มเติม 

ตลาดหุ้นไทยเราก็ได้รับผลกระทบไปด้วย มาจากความกังวลของตลาดล้วนๆ   มีนักลงทุนทยอยถามกูรูว่า จะ Cut loss ดีไหม เพราะเราทุกคนต่างเก็บเงิน ก็เพื่อหวังโอกาสในการสร้างกำไรกันทั้งนั้น จริงๆ ต้องบอกว่า ตลาดที่เป็นอยู่ทุกวันนี้มีความ
ผันผวนจากสิ่งที่คาดกันไม่ถึงทั้งนั้น ดังนั้นหากเพื่อนๆ ลงทุนอยู่ในสินค้า หรือ ตลาดๆ เดียว เวลามีผลกระทบ แบบนี้ เราต้องรอสถานการณ์ดีขึ้นอย่างเดียว   ดังนั้น กูรูจากสถาบันต่างๆ จึงมักพร่ำบอกว่า  “ต้องมีการจัดพอร์ตโฟลิโอการลงทุนจ้า” ก็จะเหมาะกับสถานการณ์แบบนี้ละครับ

การจัดพอร์ตการลงทุน (Investment Portfolio) หมายถึง การสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ตั้งแต่ 2 หลักทรัพย์ขึ้นไป เพื่อให้
การลงทุนบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้  ซึ่งควรจะกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์หลายๆ ประเภท เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของหลักทรัพย์ผ่านการลงทุนในทรัพย์สิน 3 กลุ่มหลัก คือ

  1. สินทรัพย์เพื่อสภาพคล่อง กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนเฉพาะในประเทศ
  2. สินทรัพย์เพื่อกระแสรายได้ กลุ่มนี้มีความเสี่ยงปานกลาง เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวมตราสารหนี้   กองทุนอสังหาริมทรัพย์
  3. สินทรัพย์เพื่อเพิ่มมูลค่าเงินลงทุน (Equity) กลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น กองทุนรวมหุ้น

ยกตัวอย่าง เช่น หากเพื่อนๆ ทำเกษตรผสมผสาน เช่น ปลูกผลไม้ ปลูกผัก ปศุสัตว์ เป็นต้น สมมติว่า ปลูกผลไม้ ข้อดีก็คือ ถ้าปีไหนราคาผลไม้ไม่ดี (เหมือนสัปปะรดที่ราคาตกเหลือกิโลละ 2 บาท เมื่อช่วงเดือน พ.ค. 61 ที่ผ่านมา) ราคาผักหรือ การทำปศุสัตว์อาจจะดี ก็จะทำให้มีรายได้สม่ำเสมอกว่าที่จะปลูกแต่ผลไม้เพียงอย่างเดียว

การลงทุนก็เช่นกัน ในพอร์ตการลงทุนที่ดี ควรจะกระจายการลงทุนไปให้หลากหลาย แต่ไม่ใช่มากจนเกินไป ลงทุนทุกอย่างแบบจัดเต็ม  ก็อาจจะทำให้ไม่ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดเสมอไป ดังนั้น ต้องคอยติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้อง  ซึ่ง บลจ.ไทยพาณิชย์  ก็มีกองทุนประเภทนี้ครับ  คือ กองทุน SMART PLAN คิดมาให้เสร็จสรรพไม่ต้องเลือกหลักทรัพย์และคอยติดตามเองให้ปวดหัว เราไปดูกันครับ ว่าจะน่าสนใจแค่ไหน …

กองทุนผสมสัดส่วนมาให้แล้วเสร็จ ทีนี้อยู่ที่เพื่อนๆ แล้วหละครับ ว่าจะชอบแบบไหน จะสังเกตได้ว่า กองทุนมีการลงทุนในหุ้น หรือ ลงทุนในต่างประเทศ ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น เพื่อนๆ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ยอมรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน ก่อนที่จะลงทุน ต้องศึกษาหาความรู้ให้ถี่ถ้วน เพราะการลงทุนทุกอย่าง มีความเสี่ยงที่ต้องระวังเสมอครับ....

คำเตือน :

  • เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา หรือ บลจ.ไทยพาณิชย์ และผู้สนับสนุนการขายทุกราย